บทที่ 5

                                                           
                                                                     บทที่ 5


คำเอก คำโท คือ


คำเอก คำโท 


คือ  พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุกต์โท ตามลำดับอย่างไรละครับ  ใช้ในคำประพันธ์ประเภทโคลง  คำประพันธ์ประเภทร่าย  (เพราะการแต่งร่ายก็ต้องจบบทด้วยคำประพันธ์ประเภทโคลงสองสุภาพ)


คำเอก  คือ


พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์เอก  เช่นคำว่า แต่  ข่อย  เฟื่อง  ก่อ   บ่าย   ท่าน  พี่  ช่วย  บ่  คู่  อยู่  ฯลฯ


คำเอก  รวมถึงการอนุโลมให้ใช้คำตายแทนได้  (คำตาย  คือ  คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด หรือคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กก  แม่  กด   แม่  กบ)  เช่นคำว่า พระ  ตราบ  ออก  ปะทะ  จักร   ขาด  บัด  ฯลฯ


คำโท  คือ


พยางค์หรือคำที่ปรากฏรูปวรรณยุกต์โท  เช่นคำว่า  ค้ำ  ข้อง  ไซร้  ทั้ง  รู้  ไท้  เพี้ยง  ฯลฯ



คำราชาศัพท์หมวดที่อยู่อาศัย


พระบรมมหาราชวัง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วังหลวง 


วังหลวง หมายถึง วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน  ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบรมมหาราชวัง.
พระราชวัง  เป็นสถานที่มีความสำคัญรองจากพระบรมมหาราชวัง (ที่อยู่ของพระมหากษัตริย์)
พระราชนิเวศน์ เป็นสถานที่มีความสำคัญรองจาก พระราชวัง   มีไว้สำหรับพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน
วัง เป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์  (ที่อยู่ของเจ้านาย)
ปราสาท หมายถึง เรือนมียอดเป็นชั้น ๆ สําหรับเป็นที่ประทับของ พระเจ้าแผ่นดินหรือเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์  ปลูกสร้างอยู่ในพระบรมมหาราชวัง หรือ พระราชวัง
พระราชมนเทียร หมายถึง เรือนหลวง ประเภทที่มีหลังคาจั่ว มีช่อฟ้าหน้าบัน ปลูกสร้างอยู่ในพระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวัง
พระที่นั่ง คือ เรือนหลวงที่อยู่ในพระบรมมหาราชวังและในพระราชวัง
พระที่นั่งโถง หมายถึง พระที่นั่งโล่งไม่มีฝา
พระตำหนัก หมายถึง อาคารที่ประทับของพระมหากษัตริย์
ตำหนัก หมายถึง อาคารที่ประทับของพระราชวงศ์ (เรือนของเจ้านาย) หรือ กุฏิของสมเด็จพระสังฆราช

พลับพลา หมายถึง ที่ประทับชั่วครั้งคราวสําหรับรับรองพระเจ้าแผ่นดิน และพระบรมราชวงศ์ชั้นสูง


พระที่นั่งชุมสาย  หมายถึง  สถานที่สําหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีประทับในงานต่าง ๆ ของทหาร ลูกเสือ และงานพิเศษบางโอกาส มีลักษณะเป็นแท่นสี่เหลี่ยม ดาดด้วยหลังคาผ้าระบาย ๓ ชั้น มีสายไหมห้อย


คำราชาศัพท์หมวดของใช้

ม่าน, มุ้ง = พระวิสูตร พระสูตร

หมอน = พระเขนย

ประตู = พระทวาร

หน้าต่าง  =  พระแกล, พระบัญชร

ถาดน้ำชา = ถาดพระสุธารส

คนโทน้ำ = พระสุวรรณภิงคาร

ของเสวย = เครื่อง

ช้อน  = ฉลองพระหัตถ์ช้อน

ส้อม  = ฉลองพระหัตถ์ส้อม

ตะเกียบ  = ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ

กระจก = พระฉาย

หวี  = พระสาง

แว่นตา  = ฉลองพระเนตร

มีดโกน  = พระแสงกรรบิด

ปืน = พระแสงปืน

คำราชาศัพท์ ร่างกาย
(ราชาศัพท์ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์  พระบรมราชินี  และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร  ๗  ชั้น)
คำราชาศัพท์ ร่างกาย เกี่ยวกับภายนอก
อวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย  =  พระองคาพยพ
ผม = พระเกศา    
หัว  =  พระเจ้า  (ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้นนะครับ)
หัว  =  พระเศียร,  พระศิระ
กะโหลกศีรษะ  =  พระสิรัฐิ  (อ่านว่า  สิ-รัด-ถิ  นะครับ)  หรือ  พระสีสกฎาหะ
จุก = พระโมฬี
ไรจุก  =  พระจุไร                                       
หน้าผาก = พระนลาฎ   
ขนระหว่างคิ้ว = พระอุณาโลม
คิ้ว = พระขนง  หรือ  พระภมุกา (อ่านว่า  พะ-มุ-กา) หรือ  พระภรู (อ่านว่า  พฺรู)          
ผิวหน้า = พระราศี
ดวงหน้า = พระพักตร์ 
ตา = พระเนตร,  พระจักษุ,  พระนัยนา 
ขนตา = ขนพระเนตร
แก้วตา = พระเนตรดารา 
จมูก = พระนาสิก
ขนจมูก = ขนพระนาสิก
หนวด  =  พระมัสสุ
หนวดที่คาง  หรือ  เครา  =  พระทาฐิกะ
แก้ม  =  พระปราง
กระพุ้งแก้ม  =  พระกำโบล
ปาก = พระโอษฐ์
เพดานปาก = พระตาลุ
ฟัน = พระทนต์             
ฟันกราม = พระกราม
เขี้ยว  =  พระทาฐะ,  พระทาฒะ                   
ไรฟัน = ไรพระทนต์
เหงือก = พระทันตมังสา,  พระมุทธา
ลิ้น = พระชิวหา
ลิ้นไก่ = มูลพระชิวหา
จอนหู = พระกรรเจียก
หู  ใบหู = พระกรรณ   
รูหู  =  ช่องพระโสต                  
คาง = พระหนุ (อ่านว่า  หะ-นุ  นะครับ)
คอ = พระศอ  
ไหปลาร้า = พระรากขวัญ   
บ่า = พระอังสะ
ต้นแขน = พระพาหุ
แขน = พระพาหา,  พระกร
ลำตัว = พระองค์
สีข้าง  =  พระปรัศว์    
ผิวหนัง = พระฉวี                     
รักแร้ = พระกัจฉะ
ข้อมือ = ข้อพระหัตถ์,  ข้อพระกร
มือ = พระหัตถ์
ฝ่ามือ  =  ฝ่าพระหัตถ์
นิ้วมือ = พระองคุลี                                                  
นิ้วหัวแม่มือ = พระอังคุฐ
นิ้วชี้ = พระดรรชนี 
นิ้วก้อย = พระกนิษฐา               
นิ้วชี้ = พระดรรชนี หรือ พระดัชนี  ก็ใช้
นิ้วกลาง = พระมัชฌิมา
นิ้วนาง = พระอนามิกา
นิ้วก้อย = พระกนิษฐา
เล็บ  = พระนขา     
อก = พระอุระ, พระทรวง
นม = พระถัน, พระเต้า
เต้านม  =  ยอดพระถัน
เอว = บั้นพระองค์, พระกฤษฎี
หลัง = พระขนอง,  พระปฤษฎางค์
ท้อง = พระอุทร,  พระนาภี
สะดือ = พระนาภี
ตะโพก  หรือ  สะโพก = พระโสณี
ก้น  =  พระที่นั่ง
อวัยวะที่ลับ (ชาย)  =  พระคุยหฐาน  หรือ พระคุยหประเทศ                 
อวัยวะที่ลับ (หญิง)   =  รวมถึงมดลูก  พระโยนี                                            
ลูกอัณฑะ  =  พระอัณฑะ
ต้นขา,  โคนขา,  ขาอ่อน = พระอูรุ
ขา,  ตัก  =  พระเพลา
หัวเข่า = พระชานุ                                                                                 
แข้ง = พระชงฆ์
ข้อเท้า = ข้อพระบาท
ตาตุ่ม  หรือ  ข้อเท้า  =  พระโคปผกะ  (อ่านว่า  โคบ-ผะ-กะ  นะครับ)
ฝ่าเท้า = ฝ่าพระบาท
เท้า  =  พระบาท
เท้าทั้งคู่ = พระยุคลบาท
ขน = พระโลมา
เนื้อ = พระมังสา
สิว  =  พระอสา
ไฝ  ต่อม  ฝี  =  พระปีฬกะ
ขี้แมลงวัน  =  ปิลกะ
เงา = พระฉายา 
คำราชาศัพท์ ร่างกาย เกี่ยวกับภายใน
สมอง,  ไขสมอง,  มันสมอง  =  พระมัตถลุงค์
เส้นประสาท  =  ประสาทรูป  (อ่านว่า  ปฺระ-สา-ทะ-รูบ)
ปอด = พระปัปผาสะ
หลอดลม = หลอดพระวาโย
ตับ = พระยกนะ  (อ่านว่า  ยะ-กะ-นะ   นะครับ)
ไต,  ม้าม = พระวักกะ
ม้าม,  ไต  =  พระปิหกะ
ดี  (น้ำจากต่อมตับ)  =  พระปิตตะ
หัวใจ  =  พระหทัย
ลำไส้ใหญ่  =  พระอันตะ
ลำไส้เล็ก  =  พระอันตคุณ
รก (สิ่งที่ติดมากับสายสะดือเด็กในครรภ์)  =  พระครรภมล  (อ่านว่า  คับ-พะ-มน)
สายรก  =  สายพระครรภมล
มดลูก  =  กล่องพระสกุล
กระเพาะปัสสาวะ  =  พระวัตถิ
เส้น, เอ็น  =  พระนหารุ
กระดูกซี่โครง  =  พระผาสุกะ
เส้นเลือด,  หลอดเลือด  =  เส้นพระโลหิต,  หลอดพระโลหิต
พังผืด  =  พระกิโลมกะ  (อ่านว่า  กิ-โล-มะ-กะ)
กระดูก  =  พระอัฐิ
กระดูกไหล่  =  พระอังสัฐิ
กระดูกคอ  =  พระคีวรัฐิ
กระดูกสันหลัง  =  พระปิฐิกัณฐกัฐิ
กระดูกเท้า =  พระปาทัฐิ
กระดูกมือ  =  พระหัตถัฐิ
คำราชาศัพท์อื่น ๆ  ที่เกี่ยวกับร่างกาย
เถ้ากระดูก = พระอังคาร,  พระสรรางคาร
ปัสสาวะ = พระบังคนเบา
อุจจาระ = พระบังคนหนัก     
น้ำตา = น้ำพระเนตร,  พระอัสสุชล
น้ำนม = พระกษีรธารา
เหงื่อ = พระเสโท
น้ำลาย = พระเขฬะ
น้ำมูก  =  มูลพระนาสิก
น้ำในไขข้อ  =  พระลสิกา
เลือดประจำเดือน  (ระดู)  =  พระอุหลบ
ลมหายใจเข้า  =  พระปัสสาสะ
ลมหายใจออก  =  พระอัสสาสะ
อุณหภูมิร่างกาย  =  อุณหภูมิพระวรกาย
ลม  =  พระวาโย
ชีพจร  =  พระชีพจร
เสมหะ  =  พระเสลด
น้ำหนอง  น้ำเหลือง = พระบุพโพ
ไคล  =  พระเมโท
โรคกลาก  =  ดวงเดือน
ฝี  หัวฝี  =  พระยอด
ขี้เล็บ  =  มูลพระนขา


กริยาราชาศัพท์
ตัวอย่างกริยาราชาศัพท์
คำสามัญ
ราชาศัพท์
กิน
เสวย
ชอบ
โปรด
นั่ง
ประทับ
นอน
บรรทม
ให้
พระราชทาน
(เรา)  ให้สิ่งของ ที่ใหญ่
น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
(เรา)  ให้สิ่งของที่เล็กสามารถจับถือได้
ทูลเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย
ดู
ทอดพระเนตร
รู้
ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
ป่วย
ประชวร
คำพูด
พระราชดำรัส
พูดด้วย
ตรัส
เดิน (ทางไปที่ไกล ๆ)
เสด็จพระราชดำเนินไป…
เดิน (ทางไปที่ใกล้ ๆ เช่น ในพระบรมมหาราชวัง)
เสด็จลง…
แต่งหนังสือ
ทรงพระราชนิพนธ์
ไอ
ทรงพระกาสะ
หัวเราะ
ทรงพระสรวล
สูบบุหรี่
ทรงพระโอสถมวน
ลงลายมือชื่อ
ทรงพระปรมาภิไธย
มีครรภ์
ทรงพระครรภ์
จับมือ
ทรงสัมผัสมือ
สบาย
ทรงพระสำราญ
จาม
ทรงพระปินาสะ
คำสั่ง
พระราชโองการ  (สังเกตง่าย ๆ  ว่า  ถ้าเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะมีคำว่า  “บรม”  นำหน้าคำว่า  “ราช”  เสมอ
คำสั่งสอน
พระราโชวาท  (บรม)
ทักทาย
พระราชปฏิสันถาร
อยากได้
มีพระราชประสงค์
ล้างหน้า
สรงพระพักตร์
ล้างมือ
ชำระพระหัตถ์


คำสามัญ

ราชาศัพท์

กิน

เสวย

ชอบ

โปรด

นั่ง

ประทับ

นอน

บรรทม

ให้

พระราชทาน

(เรา)  ให้สิ่งของ ที่ใหญ่

น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

อ่านเพิ่มเติม

บทความภาษาไทยน่ารู้/เกร็ดความรู้ภาษาไทย

ราชาศัพท์ของคำว่า “ถ่ายรูป”, “รูปถ่าย”

การเลือกใช้ราชาศัพท์ของคำกริยา “ถ่ายรูป” ควรพิจารณาจากเนื้อหาที่ประสงค์จะอธิบาย  หากสามัญชน “ถ่ายรูป” พระมหากษัตริย์ ราชาศัพท์ใช้ว่า “ฉายพระบรมฉายาลักษณ์” หรือ “ฉายพระรูป”  หากสามัญชน “ถ่ายรูป” สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ราชาศัพท์ใช้ว่า “ฉายพระฉายาลักษณ์” หรือ “ฉายพระรูป”   และหากสามัญชน “ถ่ายรูป” พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ราชาศัพท์ใช้ว่า “ฉายพระรูป”   อนึ่ง หากพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ “ถ่ายรูป” สามัญชน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ราชาศัพท์ใช้ว่า “ทรงฉาย” หรือ “ทรงถ่ายรูป”   หากพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ “ถ่ายรูป” พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ราชาศัพท์ใช้ว่า “ทรงฉายพระรูป”   ทั้งนี้ในสมัยโบราณไม่ว่าพระมหากษัตริย์จะทรงเป็นผู้ถ่ายรูปเองหรือมีช่างภาพถ่ายรูปให้ ราชาศัพท์ใช้ว่า “ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์, ทรงฉายพระรูป” หรือ “ทรงฉาย”  ก็มี ปัจจุบัน หากพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ช่างภาพถ่ายรูปให้ อ่านเพิ่มเติม

ปู่,  ตา         =       พระอัยกา  หรือ  พระอัยกะ

ย่า,  ยาย     =       พระอัยยิกา  หรือ  พระอัยกี

ปู่ทวด,  ตาทวด       =       พระปัยกา  หรือ  พระปัยกะ

ย่าทวด,  ยายทวด   =       พระปัยยิกา

พ่อ             =       พระชนก,  พระราชบิดา

แม่              =       พระชนนี,  พระราชมารดา

พ่อตา,  พ่อสามี       =       พระสสุระ

แม่ยาย,  แม่สามี      =       พระสัสสุ,  พระสัสสู

ลุง  (พี่ชายของพ่อ),  อาชาย  (น้องชายของพ่อ)  =  พระปิตุลา,  พระปิตุลา,  พระบิตุลา,  พระบิตุละ

ป้า  (พี่สาวของพ่อ),  อาหญิง  (น้องสาวของพ่อ)  =  พระปิตุจฉา

ลุง  (พี่ชายของแม่),  น้าชาย  (น้องชายของแม่)  =  พระมาตุลา,  พระมาตุละ

ป้า  (พี่สาวของแม่),  น้าหญิง  (น้องสาวของแม่)  =  พระมาตุจฉา

สามี            =       พระสวามี,  พระภัสดา

ภรรยา         =       พระมเหสี,  พระชายา

พี่ชาย          =       พระเชษฐา

พี่สาว          =       พระเชษฐภคินี

น้องชาย       =       พระอนุชา

น้องสาว       =       พระขนิษฐา

ลูกชาย        =       พระราชโอรส,  พระเจ้าลูกยาเธอ

ลูกสาว         =       พระราชธิดา,  พระเจ้าลูกเธอ

ลูกเขย         =       พระชามาดา

ลูกสะใภ้       =       พระสุณิสา

หลานชาย     =       พระราชนัดดา

เหลน          =       พระราชปนัดดา

หลาน คือ ลูกของพี่สาวหรือน้องสาว  =  พระภาคิไนย

หลาน  คือ  ลูกของพี่ชาย หรือน้องชาย  =  พระภาติยะ

สรรพนามราชาศัพท์

เริ่มต้นในการเรียนเรื่อง  “สรรพนามราชาศัพท์”  ต้องเรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานความรู้เรื่องที่จะขอกล่าวต่อไปนี้

สรรพนาม  คือ 

สรรพนาม  คือ  คำที่ใช้แทนคำนาม  เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก  เช่นคำว่า  ฉัน,  เรา,  ดิฉัน,  กระผม  ,ท่าน,  ใต้เท้า,  เขา  ฯลฯ
คำสรรพนามราชาศัพท์ที่จำเป็นต้องทราบ  คือ  บุรุษสรรพนามราชาศัพท์

บุรุษสรรพนาม คือ


คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามในการสื่อสารกัน แบ่งเป็น ๓ พวก คือ
๑.   บุรุษที่ ๑ หมายถึง  คำสรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ฉัน, ผม, เรา, ดิฉัน, ข้าพระเจ้า ฯลฯ
๒.   บุรุษที่ ๒ หมายถึง  คำสรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้ฟัง เช่น เธอ, คุณ, ท่าน, ใต้เท้า, พระองค์ ฯลฯ
๓.   บุรุษที่ ๓ หมายถึง  คำสรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้ที่พูดถึง หรือสิ่งที่กล่าวถึง เช่น เขา, มัน, ท่าน, พระองค์

บุรุษสรรพนามราชาศัพท์ คือ

คือ คำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามด้วยการใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องกับระดับบุคคล นั่นเองครับ

   คำนามทั่วไป  ทำให้เป็น  กริยาราชาศัพท์    ทำได้โดยการเติมคำว่า  “ทรง” นำหน้าคำต่อไปนี้นะครับนักเรียน

นำหน้านาม

นาม

ราชาศัพท์ที่ได้

ความหมาย

ศีล

ทรงศีล

รับศีล,  ถือศีล

ธรรม

ทรงธรรม

ฟังธรรม,  ฟังเทศน์

กีฬา

ทรงกีฬา

เล่นกีฬา

ช้าง

ทรงช้าง

ขี่ช้าง,  นั่งช้าง

ม้า

ทรงม้า

ขี่ม้า,  นั่งม้า

ดนตรี

ทรงดนตรี

เล่นดนตรี

ธนู

ทรงธนู

ยิงธนู

ปืน

ทรงปืน

ยิงปืน

รถ

ทรงรถ

นั่งรถ,  ขับรถ

งาน

ทรงงาน

ทำงาน

บาตร

ทรงบาตร

ตักบาตร

การใช้คำว่าตายในคำราชาศัพท์/คำราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับคำว่าตาย

            คำว่า “ตาย”  ใช้ให้ถูกกับฐานะของบุคคลต่อไปนี้นะครับ

ราชาศัพท์

กรณีการใช้/ฐานะของบุคคล

สวรรคต  (อ่านว่า สะ-หฺวัน-คด)

ใช้ในราชาศัพท์สําหรับพระเจ้าแผ่นดิน สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น

ทิวงคต

ใช้แก่พระยุพราช หรือเจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ

สิ้นพระชนม์

ใช้แก่เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช

ถึงชีพิตักษัย

หม่อมเจ้า

ถึงแก่พิราลัย

ใช้แก่เจ้าประเทศราช และสมเด็จเจ้าพระยา

คำราชาศัพท์หมวดคำสุภาพ

คำสุภาพ

ตัวอย่างคำสุภาพ

คำสามัญ

ราชาศัพท์

ผักบุ้ง

ผักทอดยอด

ผักกระเฉด

ผักรู้นอน

ผักตบ

ผักสามหาว

ผักอีริ้น

ผักนางริ้น

ต้นสลิด

ต้นขจร

ดอกสลิด

ดอกขจร

ดอกซ่อนชู้

ดอกซ่อนกลิ่น

อ่านเพิ่มเติม

ริยาราชาศัพท์


คำราชาศัพท์หมวดคำกริยา


คำสามัญ

คำราชาศัพท์

กิน

เสวย

ชอบ

โปรด

นั่ง

ประทับ

นอน

บรรทม

อ่านเพิ่มเติม

)

ราชาศัพท์ที่มักใช้กันไม่ถูกต้อง

ผู้เขียน : ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ

           เรื่องการใช้ “ราชาศัพท์” นี้เป็นเรื่องที่มีปัญหาอยู่มาก ดังที่ได้เคยพบเห็นกันมาบ้างแล้ว แต่ถึงกระนั้นก็ปรากฏว่ายังมักใช้กันไม่ถูกต้องอยู่ตลอดมา ทั้งนี้ก็เพราะเราทุกคนต่างก็ประสงค์จะใช้คำ “ราชาศัพท์” ให้ถูกต้อง แต่บางทีก็ไม่ทราบว่าจะไปปรึกษาหารือใคร ก็เลยมักใช้เท่าที่ตนคิดว่าถูกต้อง บางทีก็ขาดไปบ้าง บางทีก็เกินไปบ้าง ในเรื่องนี้ ม.ล. ปีย์ มาลากุล ท่านได้เคยตั้งข้อสังเกตเท่าที่ท่านเคยพบเห็น และได้ยินได้ฟังอยู่เสมอ โดยเฉพาะคำว่า “ถวายการต้อนรับ” ที่ใช้กันอยู่เป็นประจำทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ คงเป็นเพราะเวลาใช้กับบุคคลชั้นนำของประเทศที่มิใช่พระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย เคยใช้ว่า “ให้การต้อนรับ” พอเปลี่ยนเป็นราชาศัพท์ก็เลยกลายเป็น “ถวายการต้อนรับ” ซึ่งเป็นสำนวนฝรั่งมากไปหน่อย ข้อสังเกตของ ม.ล. ปีย์ มาลากุล นับว่ามีประโยชน์อยู่มาก ท่านได้ให้ข้อสังเกตและชี้แจงวิธีใช้ราชาศัพท์ที่ถูกต้องไว้ และข้าพเจ้าขอขยายความเพิ่มเติมในบางประเด็นบ้าง
1.    ข้อใดเป็นการเขียนอวยพร
  1. จงเชื่อในความดี
  2. ขอให้มีความสุข
  3. ซ่าโดนใจ
  4. จงทำดี

2.    การเขียนเรียงความเรื่อง “กล้วยพันธุ์ไม้สารพัดประโยชน์” โครงเรื่องข้อใดจำเป็นน้อยที่สุด
  1. ลักษณะของกล้วย
  2. ประเภทของกล้วย
  3. ประโยชน์ของกล้วย
  4. ความเชื่อเกี่ยวกับกล้วย
3.    ข้อใดที่ต้องเขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของโครงงาน
  1. ข้อเสนอแนะ
  2. ที่มาของโครงงาน
  3. สรุปและอภิปรายผล
  4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
4.    หากมีข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพของคนในท้องถิ่น ควรเลือกจัดทำโครงงานประเภทใด
  1. ทฤษฎี
  2. สำรวจ
  3. ทดลอง
  4. ประดิษฐ์
5.    บุคคลใดมีมารยาทในการเขียนที่ไม่เหมาะสม
  1. สุมิตราใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไพเราะในการเขียนสื่อสาร
  2. แก้วตาเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำสุภาพ เหมาะสมกับระดับของผู้อ่าน
  3. สมปรารถนาค้นคว้าข้อมูลอย่างรอบด้านและหลากหลายก่อนลงมือเขียน
  4. ลีลาศึกษางานเขียนของผู้อื่น แล้วลงมือเขียนโดยคัดลอกข้อความนั้นๆ มา เพื่อแสดงหลักฐาน                        การค้นคว้า
6.    ข้อควรปฏิบัติในการเขียนโต้แย้งตรงกับข้อใด
  1. การจับใจความสำคัญ
  2. การใช้ภาษาในการถ่ายทอด
  3. การกำหนดขอบเขตประเด็น
  4. แสดงข้อบกพร่องทรรศนะของอีกฝ่าย
7.    บุคคลใดให้ข้อมูลสำหรับการเขียนแนะนำตนเองได้เหมาะสมน้อยที่สุด
  1. วราภรณ์บอกชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น อายุ ของตนเองให้เพื่อนๆ ฟัง
  2. ไมตรีบอกอุปนิสัยส่วนตัวและงานอดิเรกที่ชอบทำหากมีเวลาว่าง
  3. นวียาบอกสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่ประสบผลสำเร็จ จากธุรกิจส่งออก
  4. ปฐมพงษ์บอกอาชีพของบิดา มารดา และสาเหตุที่ต้องย้ายจากโรงเรียนเดิม

8.    อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วระบุว่าเป็นการเขียนที่มีวัตถุประสงค์อย่างไร
    “มะรุมจอมพลัง คนเรารู้จักใช้มะรุมเป็นยารักษาโรคผิวหนัง โรคทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดิน    อาหาร และโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ มานานหลายร้อยปีแล้ว อีกทั้งปัจจุบันยังได้รับการกล่าวขวัญถึงว่า อาจ    เป็นทางออกหนึ่งในการรับมือกับความอดอยากและภาวะทุพโภชนาการ พืชทนแล้งที่เติบโตเร็วในอัตรา    สูงถึง 3.6 เมตรต่อปี ชนิดนี้มีใบอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่”
  1. การเขียนโน้มน้าวให้เชื่อ
  2. การเขียนเพื่อให้ความบันเทิง
  3. การเขียนเพื่อให้ความรู้
  4. การเขียนเพื่อชี้แจง
9.    ข้อใดมีความเกี่ยวข้องกับศิลปะการเขียนเรียงความน้อยที่สุด
  1. การเลือกใช้ถ้อยคำเพื่อสร้างลีลาการเขียนของตนเอง
  2. การเขียนข้อความในแต่ละส่วนให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
  3. การเลือกใช้ถ้อยคำที่มีความกระชับ ชัดเจน สื่อความตรงไปตรงมา
  4. ควรวางโครงเรื่องเพื่อให้การจัดลำดับความคิดในการนำเสนอเป็นไปโดยสมบูรณ์
10.    การอ่านในข้อใดที่ไม่ควรใช้หลักการย่อความ
  1. การอ่านโฆษณาจากหนังสือพิมพ์
  2. การอ่านสารคดีเชิงท่องเที่ยวจากจุลสาร
  3. การอ่านบทความเชิงอนุรักษ์จากนิตยสาร
  4. การอ่านขั้นตอนการประดิษฐ์จากนิตยสารรายปักษ์
11.    บุคคลใดต่อไปนี้ใช้วิธีการอ่านเพื่อย่อความได้ถูกต้อง
  1. บุปผาใช้วิธีการอ่านไปย่อไปเพื่อความรวดเร็ว
  2. มาลีอ่านเฉพาะย่อหน้าสุดท้ายเพื่อให้จับใจความสำคัญได้
  3. นารีอ่านเนื้อเรื่องให้เข้าใจโดยตลอดจนจบก่อนลงมือย่อความ
  4. ช่อผกาอ่านเฉพาะหัวข้อใหญ่แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นใจความสำคัญ
12.    ข้อใดจัดเป็นจดหมายกิจธุระ
  1. จดหมายถึงไก่เพื่อนรัก
  2. จดหมายถึงพ่อและแม่
  3. จดหมายขอความช่วยเหลือจากคุณป้า
  4. จดหมายสอบถามการรับสมัครนักเรียนฝึกงาน



13.    ระยะของการปฏิบัติโครงงานที่มีความเหมาะสมและถูกต้องตรงกับข้อใด
  1. ขั้นออกแบบ ขั้นลงมือ และรายงานผล ขั้นติดตามผล
  2. ขั้นออกแบบและเขียนเค้าโครง ขั้นลงมือ ขั้นรายงานผล
  3. ขั้นออกแบบ ขั้นเขียนเค้าโครง ขั้นลงมือ ขั้นแก้ปัญหา ขั้นรายงานผล
  4. ขั้นออกแบบ ขั้นเขียนเค้าโครง ขั้นลงมือ และแก้ปัญหา ขั้นรายงานผล
14.    ข้อใดไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมสำหรับการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำมาทำรายงานและโครงงานเชิงวิชาการ
  1. อ่านหนังสือ
  2. การสำรวจ
  3. การสร้างแบบสอบถาม
  4. การตัดต่อจากข้อมูลของผู้อื่น
15.    ข้อใดกล่าวถึงลักษณะสำคัญของการเขียนวิเคราะห์วิจารณ์ได้ถูกต้องที่สุด
  1. เป็นกระบวนการเขียนเพื่อแสดงความรู้ของผู้เขียน
  2. เป็นกระบวนการเขียนเพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตาม
  3. เป็นกระบวนการเรียบเรียงเนื้อหาสาระที่ได้จากการศึกษาในประเด็นหนึ่ง ๆ
  4. เป็นกระบวนการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น โดยชี้ให้เห็นทั้งข้อดี และข้อด้อย
1.    พฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นของบุคคลที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ใครแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสม    ที่สุด
  1. พรแสดงความคิดเห็นในเรื่องส่วนตัวของกุ้ง
  2. หน่อยแสดงความคิดเห็นต่อความเชื่อของน้อย
  3. นิดแสดงความคิดเห็นโดยยึดเหตุผลของตนเองเป็นใหญ่
  4. แป้งแสดงความคิดเห็นต่อข่าวอาชญากรรมที่อ่านจากหนังสือพิมพ์
17.    พาดหัวข่าวในข้อใดใช้ภาษาเพื่อการแสดงความคิดเห็น
  1. รอนนี่ ชาน พ่อพระ นักอสังหาฯ
  2. เชียงราย…ตกหนัก คร่าชีวิตหญิงชรา 76
  3. ด้วยคะแนน 2 ต่อ 1 เชต วอลเล่ย์บอลสาวไทย
  4. ถึงไทยแล้ว…โรคมือ เท้า ปาก สธ.หาทางป้องกัน
18.    บุคคลใดต่อไปนี้มีลักษณะของผู้ฟังและดูที่ดี
  1. มาลีจะตั้งจุดมุ่งหมายก่อนการฟังและดูทุกครั้ง
  2. สมพิศไม่ชอบผู้ดำเนินรายการท่านนี้จึงไม่รับชมรายการ
  3. สมปองฟังสมชายซึ่งเป็นเพื่อนสนิทกล่าวหาสมศรี แล้วเชื่อทันที
  4. สมพงศ์ไม่ได้จดบันทึกการฟังบรรยายของวิทยากรเพราะคิดว่าตนเองมีความจำที่ดี

19.    พิจารณาพฤติกรรมของบุคคลที่กำหนดให้ อนุมานว่าบุคคลใดน่าจะประสบผลสำเร็จในการฟังมากที่สุด
  1. กุ๊กเสียบหูฟังข้างหนึ่งเพื่อฟังเพลงจากคลื่นวิทยุขณะฟังอภิปราย
  2. กรณ์สนทนากับกันต์เกี่ยวกับประเด็นการอภิปรายที่พึ่งผ่านไปขณะฟัง
  3. ไก่ฟังการอภิปรายอย่างตั้งใจแต่ไม่สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องได้
  4. แก้วบันทึกเสียงของผู้อภิปรายขณะฟังการอภิปราย แล้วนำไปเปิดฟังอีกครั้งหนึ่งที่บ้าน เพื่อสรุปสาระสำคัญลงในแบบบันทึกการฟัง
20.    ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของการพูดที่ดีได้ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
  1. พูดแล้วขัดแย้ง
  2. พูดโดยใช้อารมณ์
  3. พูดแล้วผู้ฟังมีความสุข
  4. พูดแล้วบรรลุวัตถุประสงค์






1.
2
การเขียนอวยพร คือ การเขียนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รับเกิดความรู้สึกประทับใจ ดังนั้นถ้อยคำที่ใช้จึงมีลักษณะของการกล่าวให้ผู้รับคำอวยพร พบแต่สิ่งที่ดีๆ
2.
4
โครงเรื่อง หมายถึง เค้าโครงของงานเขียนทำให้งานเขียนมีการจัดลำดับเนื้อหาเหมาะสม เนื้อความสัมพันธ์กัน มีเอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ จากตัวเลือกที่กำหนดให้ คำตอบในข้อ 1., 2. และ 3. มีความสัมพันธ์กัน และเชื่อมโยงสัมพันธ์กับชื่อเรื่อง ส่วนประเด็น “ความเชื่อเกี่ยวกับกล้วย” มีความสอดคล้องกับชื่อเรื่องน้อยที่สุด และไม่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับประเด็นทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าว


ข้อที่
เฉลย
เหตุผลประกอบ
3.
3
การย่อความ คือ การจับสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ใคร   ทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และทำไม โดยใช้สำนวนภาษาของผู้ย่อเอง ซึ่งวิธีการอ่านที่เหมาะสมสำหรับการย่อความ คือ ผู้ย่อจะต้องอ่านเนื้อหาสาระให้จบตลอดทั้งเรื่อง ก่อนลงมือย่อความ
4.
4
จดหมายส่วนตัว คือ จดหมายที่เขียนติดต่อกันอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างคนที่สนิทสนม เพื่อส่งข่าวคราว ไต่ถามทุกข์สุข ดังนั้นจดหมายถึงไก่เพื่อนรัก จดหมายถึงพ่อแม่ และจดหมายขอความช่วยเหลือจากคุณป้าจึงจัดเป็นจดหมายส่วนตัว ส่วนจดหมายกิจธุระ คือ จดหมายระหว่างบุคคลที่ติดต่อสื่อสารกันด้วยกิจธุระ เช่น การติดต่อสอบถาม แต่ถ้าบริษัทติดต่อกับบริษัทเรียกว่า จดหมายธุรกิจ จดหมายสอบถามการรับสมัครนักเรียนฝึกงานจึงจัดเป็นจดหมายกิจธุระ
5.
2
ขั้นตอนการปฏิบัติโครงงานมีทั้งสิ้น 3 ระยะ ได้แก่ ขั้นออกแบบและเขียนเค้าโครง สมาชิกภายในกลุ่มจะต้องช่วยกันออกแบบโครงงาน แล้วเขียนเค้าโครงของโครงงานเพื่อนำเสนอ ขอความเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ระยะที่ 2 ขั้นลงมือปฏิบัติ เมื่อเค้าโครงที่นำเสนอได้รับความเห็นชอบ ผู้รับผิดชอบนำไปปฏิบัติตามขั้นตอนที่วางไว้ตามระยะเวลาที่กำหนด และระยะที่ 3 คือ รายงานผลการปฏิบัติโ
ข้อที่
เฉลย
เหตุผลประกอบ
6.
3
การเขียนโครงงานในของการสรุป และอภิปรายผล ผู้เขียนจะต้องเขียนให้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่วางไว้ ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติโครงงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าผู้เขียน ได้ศึกษาโครงงานเป็นไปตามจุดประสงค์ที่วางไว้
7.
2
โครงงานมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้จัดทำจะเลือกจัดทำประเภทใด โดยพิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่เป็นสำคัญ
8.
4
จากตัวเลือกข้อ 1., 2. และ 3. เป็นมารยาทที่ควรปฏิบัติในการสร้างงานเขียนด้วยตนเอง ส่วนข้อ 4. การคัดลอกงานเขียนของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนเองเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ เพราะนอกจากจะเป็นการไม่ให้เกียรติเจ้าของผลงานนั้นแล้ว ยังผิดกฎหมายในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ส่งผลให้ผู้เขียนได้รับความเดือดร้อน เสียหาย และงานเขียนชิ้นนั้นๆ ไม่ได้รับการเชื่อถือ
9.
1
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการเขียนโต้แย้ง คือผู้ฟังจะต้องจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้ เพื่อกำหนดขอบเขตประเด็นที่จะโต้แย้ง
10
3
ข้อมูลส่วนตัวที่จะเลือกมาเขียนแนะนำตนเอง ควรเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้อื่นรู้จักเรา เช่น ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น อายุ ภูมิลำเนา อาชีพของบิดา มารดา อุปนิสัยส่วนตัว งานอดิเรก แต่ข้อมูลที่ค่อนข้างไปในทางยกตนข่มท่านไม่เหมาะสมที่จะนำมาบรรยายให้ผู้อื่นฟัง และในการแนะนำตนเองกับเพื่อนร่วมชั้นก็ไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลดังกล่าว
11
3
ข้อความข้างต้นปรากฏลักษณะสำคัญ คือ ใช้ถ้อยคำเรียบเรียงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งในที่นี้ คือ มะรุม
12.
3
การสร้างสรรค์งานเขียนประเภทเรียงความ หลังจากกำหนดจุดมุ่งหมายในการเขียนได้แล้ว ผู้เขียนจะต้องรวบรวม คัดเลือก จัดหมวดหมู่ข้อมูลเป็นส่วนๆ วางโครงเรื่อง เพื่อจัดลำดับความคิด เรียบเรียงส่วนต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน โดยใช้สำนวนภาษาที่มีความไพเราะ เหมาะสม และมีลีลาเป็นของตนเอง
13
4
การอ่านโฆษณาสามารถใช้หลักการย่อความได้ โดยพิจารณาว่า เป็นโฆษณาเกี่ยวกับสินค้าอะไร สรรพคุณ สถานที่วางจำหน่าย การอ่านสารคดีเชิงท่องเที่ยวสามารถใช้หลักการย่อความได้ โดยพิจารณาว่า สถานที่นั้นตั้งอยู่ที่ใด เดินทางไปอย่างไร ที่พัก อาหาร การอ่านบทความเชิงอนุรักษ์สามารถใช้หลักการย่อความได้  โดยพิจารณาว่า สถานที่ที่ได้รับการอนุรักษ์คือที่ใด ทำไมต้องอนุรักษ์ แล้วอนุรักษ์อย่างไร ส่วนการอ่านขั้นตอนการประดิษฐ์ ผู้อ่านไม่สามารถใช้หลักการย่อความได้ เพราะผู้อ่านจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนทุกๆข้อ เพื่อให้ประกอบชิ้นงานได้สำเร็จ
ครงงาน
14.
4
การทำรายงานและโครงงาน หากจะใช้ข้อมูลปฐมภูมิสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การจัดทีมสำรวจสอบถามข้อมูล หรือหากจะใช้ข้อมูลทุติยภูมิหรือข้อมูลที่มีผู้ศึกษาไว้แล้วจะสังเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการอ่าน เมื่อได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ผู้ทำรายงานจะต้องรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลเหล่านั้นด้วยสำนวนภาษาของตนเอง ไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาตัดต่อเป็นรายงานของตนเอง
15.
4
การเขียนวิเคราะห์ วิจารณ์ คือการเขียนแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยแจกแจงให้เห็นส่วนประกอบแต่ละส่วนว่ามีข้อดี ข้อด้อยอย่างไร เป็นกระบวนการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นโดยการวิเคราะห์ แยกแยะข้อมูล ทำให้มองเห็นแต่ละส่วนประกอบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร นำไปสู่การตัดสินประเมินค่า
16.
4
การแสดงความคิดเห็นเป็นพฤติกรรมประการหนึ่งของมนุษย์ที่จะทำให้เกิดการมองหลายๆ แง่มุม ซึ่งเราสามารถแสดงความคิดเห็นได้ทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน แต่บางเรื่องก็ไม่ควรแสดงความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์ เพราะอาจทำให้เกิดความขัดแย้งได้ เช่น เรื่องส่วนตัวของผู้อื่น เรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ศาสนา ค่านิยม และที่สำคัญในการแสดงความคิดเห็นไม่ควรยึดถือแต่เฉพาะความคิดของตน
ข้อที่
เฉลย
เหตุผลประกอบ
17.
1
พาดหัวข่าว คือ การนำประเด็นสำคัญของข่าวมาเขียน เพื่อบอกให้ผู้อ่านทราบว่า         วันนี้มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง พาดหัวข่าว จึงมีจุดประสงค์เพื่อเรียกร้องความสนใจของผู้อ่าน การพาดหัวข่าวแสดงความคิดเห็น คือ การที่ผู้เขียนใช้ถ้อยคำเพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึกที่มีต่อเนื้อข่าว หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับข่าว คำตอบในข้อ 2., 3. และ 4. เป็นประโยคที่ผู้เขียนมุ่งแสดงข้อเท็จจริง ประโยคในข้อ 1. ปรากฏการใช้ถ้อยคำในเชิงแสดงความคิดเห็นคือคำว่า “พ่อพระ” ซึ่งคำนี้มักจะกล่าวชมเชยแก่บุคคลที่มีจิตใจดีหรือใจบุญมากเป็นพิเศษ
18.
1
การฟังและดูสื่อในชีวิตประจำวันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจัยหนึ่งขึ้นอยู่กับผู้ฟังและดู ซึ่งการฟังและดูที่ดี ผู้ฟังและดูควรตั้งจุดมุ่งหมายทุกครั้ง เพราะเมื่อมีจุดมุ่งหมายย่อมสามารถจับใจความสำคัญได้ การมีอคติต่อผู้ส่งสาร  การเชื่อโดยปราศจากการใช้วิจารณญาณไตร่ตรอง และการฟังโดยไม่มีการจดบันทึกสาระสำคัญของสิ่งที่ได้ฟังได้ดูเหล่านี้ล้วนไม่ใช่ลักษณะของผู้ฟังและดูที่ดี
19
4
การฟังและดูสื่อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้ฟังและดูควรมีสมาธิ ใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง เพื่อให้สามารถจับใจความสำคัญได้ไม่สนทนากับผู้อื่น เพราะอาจทำให้พลาดสาระสำคัญในส่วนต่อๆไป เมื่อฟังเรื่องที่มีความยาว และผู้ฟังขาดพื้นฐานความรู้ ควรมีอุปกรณ์ช่วยจำ แล้วนำกลับมาทบทวนภายหลังจะทำให้การฟังครั้งนั้นๆ เกิดประสิทธิภาพ
20.
4
การพูด คือ การถ่ายทอดความรู้ ความคิดหรือความต้องการของผู้พูดสื่อความหมายไปยังผู้ฟังเพื่อให้เกิดการรับรู้และอาการตอบสนอง โดยใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง รวมทั้งอากัปกิริยาต่างๆ ประกอบกัน ดังนั้นลักษณะของการพูดที่ดีคือ พูดแล้วบรรลุ        วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่การพูดที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น ได้แก่ การพูดโดยใช้อารมณ์ พูดแล้วก่อให้เกิดความขัดแย้ง ซึ่งการพูดที่พูดแล้วผู้ฟังมีความสุข แต่ถ้าไม่บรรลุ    วัตถุประสงค์ ก็ยังถือเป็นการพูดที่ดีหรือสมบูรณ์ไม่ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น