บทที่ 2

 
     
                                                      บทที่่ 2


คำซ้อนแบ่งเป็น  2 พวกคือ  คำซ้อนเพื่อความหมายและคำซ้อนเพื่อเสียง
คำซ้อนเพื่อความหมาย เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกัน  ต่างกันเล็กน้อยหรือไปในทำนองเดียวกัน  หรือต่างกันในลักษณะตรงข้าม  เมื่อประกอบเป็นคำซ้อนจะมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
                   1.  ความหมายอยู่ที่คำใดคำหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  คำอื่นหรือกลุ่มอื่นไม่ปรากฏความหมาย  เช่น  หน้าตา   ปากคอ   เท็จจริง   ดีร้าย   ผิดชอบ   ขวัญหนีดีฝ่อ  ถ้วยชามรามไห   จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน
                   2.  ความหมายอยู่ที่ทุกคำแต่เป็นความหมายที่กว้างออกไป เช่น
เสื้อผ้า ไม่ได้หมายเฉพาะเสื้อกับผ้า แต่รวมถึงเครื่องนุ่งห่ม เรือแพ ไม่ได้หมายเฉพาะเรือกับแพ  แต่รวมถึงยานพาหนะทางน้ำทั้งหมด  ข้าวปลา  ไม่ได้หมายเฉพาะข้าวกับปลา  แต่รวมถึงอาหารทั่วไป  พี่น้อง ไม่ได้หมายเฉพาะพี่กับน้อง  แต่รวมถึงญาติทั้งหมด  หมูเห็ดเป็ดไก่   หมายรวมถึงสิ่งที่ใช้เป็นอาหารทั้งหมด
                   3.  ความหมายอยู่ที่คำต้นกับคำท้ายรวมกันเช่น เคราะห์หามยามร้าย  

( เคราะห์ร้าย )  ชอบมาพากล ( ชอบกล )  ฤกษ์งามยามดี  ( ฤกษ์ดี ) ยากดีมีจน ( ยากจน )
                   4.  ความหมายอยู่ที่คำต้นหรือคำท้าย ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกันเช่น ชั่ว ดี   ( ชั่วดีอย่างไรเขาก็เป็นเพื่อนฉัน )   ผิดชอบ  ( ความรับผิดชอบ )  เท็จจริง ( ข้อเท็จจริง)
พยางค์ คือ จังหวะเสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ หรือหน่วยเสียงที่ประกอบด้วยสระตัวเดียว จะมีความหมายหรือไม่ก็ตาม คําที่ใช้บรรจุในบทร้อยกรองต่าง ๆ นั้นล้วนหมายถึง คำพยางค์ ทั้งสิ้น

พยางค์         พยางค์เป็นการประสมเสียงในภาษา เพราะพยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ ติดตามกันอย่างกระชั้นชิด

พยางค์มีองค์ประกอบดังนี้

  1. เสียงพยัญชนะต้น
  2. เสียงสระ
  3. เสียงวรรณยุกต์
  4. เสียงสะกด

         เสียงพยัญชนะต้น คือ เสียงที่เปล่งออกมาก่อน บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะเดี่ยว บางคำจะเป็นเสียงพยัญชนะควบกล้ำก็ได้ เช่น อ่าง (พยัญชนะต้น คือ อ) ลิฟท์ (พยัญชนะต้น คือ ล) ดาว (พยัญชนะต้น คือ ด) คลอง (พยัญชนะต้น คือ คล) ไกร (พยัญชนะต้น คือ กร) ขวาน (พยัญชนะต้น คือ ขว) เป็นต้น

         เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งตามติดมากับเสียงพยัญชนะ เช่น งา (เสียงสระ อา) ชล (เสียงสระ โอะ) เสีย (เสียงสระ เอีย) เกาะ (เสียงสระ เอาะ) เป็นต้น

         เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาพร้อมกับเสียงสระ เพื่อให้มีระดับเสียงสูงต่ำต่างกันไป เช่น ใหญ่ (เสียงวรรณยุกต์ เอก) เพื่อ (เสียงวรรณยุกต์ โท) สี (เสียงวรรณยุกต์จัตวา) เป็นต้น

         พยางค์ การที่เราเปล่งเสียงออกมาจากลำคอครั้งหนึ่ง ๆ นั้น เราเรียกเสียงที่เปล่งออกมาว่า “พยางค์” แม้ว่าเสียงที่เปล่งออกมาจะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม เช่น เราเปล่งเสียง “สุ” ถึงจะไม่รู้ความหมาย หรือไม่รู้เรื่องเราก็เรียกว่า ๑ พยางค์ หากเราเปล่งเสียงออกมาอีกครั้งหนึ่งว่า “กร” จะเป็น “สุกร” จึงจะมีความหมาย คำว่า “สุกร” ซึ่งเปล่งเสียง ๒ ครั้ง เราก็ถือว่ามี ๒ พยางค์ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งเดียวมีความหมาย เช่น นา หมายถึง ที่ปลูกข้าว เสียงที่เปล่งออกมาว่า “นา” นี้เป็น ๑ พยางค์
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ตาม ถ้าเปล่งเสียงออกมา ๑ ครั้ง ก็เรียก ๑ พยางค์ สองครั้งก็เรียก ๒ พยางค์         พยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ออกมาพร้อม ๆ กัน พยางค์ที่มีความหมายอาจจะเป็นพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้

        พยางค์แต่ละพยางค์จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วนขึ้นไป คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ การประกอบสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เข้าเป็นพยางค์เรียกว่า การประสมอักษรมี ๔ วิธี คือ
          การประสมสามส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ 
   การประสมสี่ส่วน
คือ การประสมพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์หรือ ตัวสะกด และวรรณยุกต์

. การประสมสี่ส่วนพิเศษ คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้าย พยางค์ที่ไม่ออกเสียงหรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์ 

 การประสมห้าส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์หรือตัวสะกด พยัญชนะท้ายพยางค์ที่ไม่ออกเสียง หรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์ 3

อ่านเรื่องที่กำหนดให้ต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 1-5
          การทอผ้าเป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านในทั่วทุกภาคของประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ และมักมีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นที่ทำให้ดูสวยงามและแปลกตาแตกต่างกันไปในที่นี้จะนำศิลปหัตถกรรมการทอผ้าบางชนิดที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ มาอธิบายเพื่อเป็นตัวอย่าง คือ การทอผ้าไหม และการทอผ้าจก
          การทอผ้าไหม ผ้าไหมเป็นงานหัตถศิลป์ที่รู้จักกันทั่วโลกด้วยคุณภาพที่มีเอกลักษณ์ในความงดงาม และความคงทนของเนื้อผ้า มีลวดลายและเคล็ดลับวิธีที่แตกต่างกันไปตามแต่ละภาค ผ้าไหมมัดหมี่ เป็น
ภูมิปัญญาชาวบ้านภาคอีสาน ที่สั่งสมและถ่ายถอดต่อๆ กันมาภายในครอบครัว
         ผ้าไหมมัดหมี่เป็นผ้าที่ทอขึ้นจากเส้นใยที่ผ่านการมัดเพื่อสร้างลวดลายก่อนย้อมสีและทอ เวลาย้อมส่วนที่ถูกมัดไว้ก็จะไม่ติดสีจึงทำให้เกิดลวดลาย ถ้าต้องการหลายสีก็ต้องมัดและย้อมทับหลายครั้ง จนกว่าจะได้สีครบตามต้องการ หลังจากย้อมสีแล้วก็จะแก้เชือกที่มัดออก นำเส้นด้ายกรอเข้ากับหลอด เพื่อทอเป็นผืนผ้าต่อไป การทอผ้ามัดหมี่มีทั้งที่เรียกว่า มัดหมี่ด้ายเส้นยืน มัดหมี่ด้ายเส้นพุ่ง และมัดหมี่ผสม
          ประเทศไทยมีการทอผ้ามัดหมี่มาเป็นเวลานานแล้ว โดยเฉพาะในภาคอีสานชาวบ้านจะทอผ้ามัดหมี่กันในหลายท้องที่และสอนต่อๆ กันมาในครอบครัว เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จ
พระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน ทอดพระเนตรเห็นหญิงชาวบ้านสูงอายุที่มารอรับเสด็จนุ่งผ้าไหมมัดหมี่ที่ผลิตจากชาวบ้าน และทรงตรวจคุณภาพผ้าไหมพร้อมทั้งพระราชทานคำแนะนำให้ชาวบ้านพัฒนา การทอให้มีคุณภาพดีขึ้น หลังจากนั้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการฝึกสอนการทอผ้าไหมมัดหมี่ใน ศูนย์ศิลปาชีพ โครงการศิลปาชีพ และกลุ่มศิลปาชีพที่ตั้งขึ้นในที่ต่างๆ
         การทอผ้าจก ผ้าจกเป็นผ้าทอผืนแคบๆ อาจทอขึ้นจากฝ้ายหรือไหม หรือผสมกันทั้ง 2 อย่างก็ได้ คำว่า “จก” เป็นวิธีการทอผ้าให้เกิดลวดลายขึ้น โดยการใช้ไม้ปลายแหลม หรือขนเม่นงัดซ้อนด้ายยืนขึ้น และใช้ด้ายสีสอดไปตามรอยซ้อนนั้น การสอดด้ายสีต่างๆไปตามรอยงัดซ้อนในจังหวะต่างๆ กัน ทำให้เกิดลวดลายคล้ายผ้าปัก ดังนั้นการทอผ้าจกจึงเป็นการทอและการจกลายไปพร้อมๆ กัน ทำลวดลายสอดสลับด้วยไหมหรือด้ายสีต่างๆ ผ้าชนิดนี้นิยมใช้เป็นส่วนประกอบตกแต่งผ้าผืนใหญ่ โดยเฉพาะผ้าซิ่น ซึ่งเมื่อประกอบด้วยผ้าจกแล้ว ก็เรียกว่า ผ้าซิ่นตีนจก
          การทอผ้าจกต้องใช้ความประณีตมาก ผ้าหนึ่งผืนกว่าจะทอเสร็จใช้เวลาหลายเดือนนักวิชาการด้านผ้าจึงมักจัดให้การทอผ้าจกเป็นสุดยอดของการทอผ้า
         ศิลปะการทอผ้าจกสืบทอดมาจากวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายลาวพวน ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ดังนั้น จึงถือเป็นต้นแบบของการทอผ้าชนิดนี้ เดิมมักเป็นลายหน้ากระดาน หรือลายแถบคั่นเป็นชั้นๆ ต่อมาได้มีการคิดดัดแปลงเป็นลวดลายและสีสันให้หลากหลายมากขึ้น และจากการสนับสนุนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ในปัจจุบันได้มีการทอผ้าจกเกิดขึ้นหลายจังหวัดในภาคเหนือ เช่น อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอลอง จังหวัดแพร่
 1.      เพราะเหตุใดจึงเรียกผ้าไหมชนิดหนึ่งว่า “ผ้าไหมมัดหมี่”
        1.     เพราะกรรมวิธีการต้มเส้นไหมเป็นกรรมวิธีเดียวกันกับการต้มเส้นหมี่
        2.     เพราะเส้นไหมที่นำมาทอเล็ก บาง และกลมคล้ายลักษณะของเส้นหมี่
        3.    เพราะความสวยงามของผ้าไหมชนิดนี้เกิดจากเทคนิคการมัดย้อมเส้นไหม
        4.     เพราะผ้าไหมชนิดนี้มีต้นกำเนิดจากหมู่บ้านมัดหมี่ ทางภาคอีสานของไทย
 2.      คำว่า “ด้ายเส้นยืน” ในย่อหน้าที่ 3 หมายถึงสิ่งใด
        1.     เส้นไหมแนวตั้งที่ใช้เป็นแกนในการทอผ้า  
    2.    เส้นไหมแนวนอนที่ใช้ขัดกับเส้นแนวตั้ง
    3.    เส้นไหมที่มัดย้อมให้เกิดลวดลายแล้ว
    4.    เส้นไหมที่ใช้ในการพุ่งเพื่อวัดขนาดผ้า
 3.      ข้อความข้างต้นโดดเด่นในการใช้โวหารประเภทใดในการเขียน  
    1.    บรรยายโวหาร    2.    พรรณนาโวหาร
    3.    สาธกโวหาร    4.    อุปมาโวหาร
 4.      จากข้อความข้างต้นข้อใด สรุปได้ไม่ถูกต้อง
    1.    การทอผ้าเป็นงานหัตถศิลป์ของภาคเหนือและภาคอีสานของไทย
    2.    มูลนิธิศิลปาชีพส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวบ้านทอผ้าเป็นอาชีพเสริม
    3.    การสร้างลายผ้าด้วยเทคนิคการจกต้องอาศัยระยะเวลาในการผลิต
    4.    มูลนิธิศิลปาชีพมักส่งเสริมให้ชาวบ้านพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพดีขึ้น
 5.      จากข้อความข้างต้นงานทอผ้าเป็นงานหัตถศิลป์ที่แสดงให้เห็นคุณลักษณะประการใดของคนไทยได้ดี
    ที่สุด
    1.    คนไทยเป็นคนรักสวยรักงามจึงออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายให้สวยงาม
    2.    คนไทยมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จึงคิดวิธีการทอผ้าให้มีลักษณะเฉพาะถิ่น
    3.    คนไทยมักไม่ปล่อยให้เวลาว่างผ่านไปอย่างไร้ประโยชน์จึงทำให้เกิดงานหัตถกรรม
    4.    คนไทยยอมรับวัฒนธรรมที่หลากหลายจึงทำให้มีธรรมเนียมประเพณีแตกต่างกัน

ส่วนที่ 2   :    แบบระบายตัวเลือก แต่ละข้อมีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
            จำนวน 40 ข้อ (ข้อละ 6-45)  :  ข้อละ 1.5 คะแนน
อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 6-7
การป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009
  1. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกฮอล์เจล เพื่อฆ่าเชื้อโรค
  2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลี ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดหรือในที่ชุมชนหนาแน่น หากจำเป็นให้สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  3. ปิดปาก ปิดจมูก ด้วยกระดาษทิชชู เมื่อ ไอ จาม และต้องล้างมือทุกครั้ง
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น
  5. ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  6. ติดตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด

 6.      วิธีปฏิบัติในข้อใดที่เป็นพื้นฐานของการป้องกันโรคโดยทั่วไป
    1.    ข้อ 1    2.    ข้อ 4
    3.    ข้อ 5    4.    ข้อ 6
 7.      บุคคลในข้อใดที่ปฏิบัติตนตามแนวทางการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ได้อย่างถูกต้อง
    1.    รุจน์พกแอลกอฮอล์และหน้ากากอนามัยติดตัวเสมอเมื่อต้องไปในที่ชุมชนหนาแน่น
    2.    อานนท์ใช้ช้อนกลางตักอาหารเสมอจนเป็นนิสัย เมื่อต้องรับประทานอาหารกับผู้อื่น
    3.    อภิชญากินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้มีแรงพอจะทำงานทั้งคืนโดยไม่ยอมนอน
    4.    ฤทธิ์เก็บตัวอยู่ที่บ้าน ไม่ออกไปเรียนแต่คอยติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดเพราะกลัวจะติดโรค
 8.      “ถึงแม้ว่า สภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน จะกดดันหรือก่อให้เกิดความเครียดมากเพียงใดก็ตาม หากเรามี     
         รอยยิ้ม  หัวใจของเราก็จะเปิดกว้าง มีมุมมองใหม่ๆ พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เข้ามา ยิ้มให้กัน
    และกัน ยิ้มอย่างสดใส ยิ้มอย่างจริงใจ ความสุขเล็กๆ น้อยๆ ก็จะมารายล้อมอยู่รอบตัว ดังนั้น มาทำให้
    ใบหน้าของพวกเราเลอะไปด้วย รอยยิ้มกันเถอะ”
        ข้อความข้างต้น ควรจัดอยู่ในส่วนใดของเรียงความเรื่อง “อยากให้ทุกคนหน้าเลอะ”
    1.    คำนำ
    2.    เนื้อเรื่อง
    3.    สรุป
    4.    คำนำหรือสรุป

 9.      ข้อใดเป็นการเขียนเชิงอธิบาย
    1.    ดึกดื่นคืนนี้ ลมหนาวพัดโชยมา ฉันมองไปที่ขอบฟ้าเนิ่นนาน
    2.    ปรุงรสให้แซบหนอ ใส่มะละกอลงไป อ้อ อย่าลืมใส่กุ้งแห้งป่นของดี
    3.    ให้แสงสุกใส ได้เป็นเสมือนดวงตา คอยส่องมองเธอด้วยแววตาแห่งความภักดี
    4.    ไม่ต้องห่วงว่าฉันเปลี่ยนหัวใจ ฉันจะเป็นอย่างนี้ จะรักเธอตลอดไป
10.      ข้อใดเขียนอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลในการเขียนรายงานได้ถูกต้อง
    1.    ดวงใจ ไทยอุบุญ. 2549. ทักษะการเขียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
    2.    ประภาศรี สีหอำไพ. 2531. การเขียนแบบสร้างสรรค์. สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช: กรุงเทพฯ.
    3.    ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. ความคิดสร้างสรรค์. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ, 2546.
    4.    บันลือ พฤกษะวัน. พัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์. ไทยวัฒนาพานิช: กรุงเทพฯ, 2533.

11.      แผนผังความคิดข้างต้น ควรเป็นองค์ประกอบของเรื่องใด
    1.    ชีวประวัติของบุคคลสำคัญ
    2.    ชีวิตกวีเอก : สุนทรภู่
    3.    บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย
    4.    วรรณคดีชิ้นเอกของสุนทรภู่
12.      บุคคลใดรับสารด้วยการฟังได้อย่างสัมฤทธิ์ผล
    1.    ส้ม เป็นที่รักของเพื่อน แม้ว่าเพื่อนจะต่อว่าไม่พอใจเรื่องใด ส้มก็ยิ้มรับทุกอารมณ์ของเพื่อนได้เสมอ
    2.    สวย เป็นที่ชื่นชมของเพื่อน เพราะเพื่อนสั่งอะไรสวยก็ไม่เคยขัดข้อง จะเชื่อฟังและปฏิบัติตามเสมอ
    3.    ปลา ไม่ค่อยมีใครสนใจ เพราะเวลาใครพูดอะไร เธอก็จะฟังอย่างตั้งใจ แต่ไม่เคยปฏิบัติสักครั้ง
    4.    ปุ่น ไม่ค่อยสนใจคนที่กล่าวตักเตือน เพราะรู้สึกว่าเสียเวลาและคิดเสมอว่าคนเหล่านี้คอยแต่อิจฉา
13.       ข้อใดไม่ใช่หลักปฏิบัติการพูดที่เหมาะสม
    1.    ผู้พูดควรเลือกเรื่องที่ตนเองมีความรู้ ถนัดและสนใจในการพูด
    2.    การวิเคราะห์ผู้ฟัง เป็นขั้นตอนสำคัญในการพูดที่ไม่ควรละเลย
    3.    ผู้พูดที่ไม่เตรียมเนื้อหาแล้วพูดได้ ถือว่าเป็นอัจฉริยะทางการพูด
    4.    การแต่งกายเป็นสิ่งหนึ่งในการเสริมบุคลิกภาพให้ผู้พูดโดดเด่น
14.       หากนักเรียนได้รับมอบหมายให้พูดต้อนรับบุคคลที่มาเยี่ยมชมโรงเรียน ข้อใดไม่ใช่ ประเด็นสำคัญของ   
           เนื้อหาที่จะต้องนำเสนอ
    1.    ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน
    2.    ความรู้สึกยินดีต่อการเข้าเยี่ยมชม
    3.    การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน
    4.    จุดเด่นของการพัฒนาโรงเรียนที่ผ่านมา
15.       ข้อใดใช้ภาษาในการพูดได้อย่างเหมาะสมและแสดงมารยาทที่ดี
         1.    ไม่ว่าใครก็สามารถพบเจอความผิดหวังได้ แต่ท้ายที่สุดอย่าท้อแท้แล้วกัน
    2.    คนอย่างเรา ผิดหวังซะบ้างก็ดี ทำอะไรมั่นใจเหลือเกิน จะได้เป็นบทเรียน
    3.    โตแล้ว ถ้าผิดหวังแค่นี้ ทนไม่ได้ มีชีวิตอยู่ต่อไปไม่ได้ ก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว
    4.    พยายามเข้าละกัน ผิดหวังเป็นเรื่องเล็กๆ ถ้าฟ้ามีตา คงเห็นความตั้งใจน้อยๆ บ้าง
16.       คำในข้อใด มีวิธีการสร้างคำแตกต่างจากข้ออื่น
    1.    ปวดร้าว   ปวดเมื่อย
    2.    บอกบท   บอกใบ้
    3.    เศร้าโศก   เศร้าหมอง
    4.    คลาดเคลื่อน   คลาดแคล้ว
17.       คำประพันธ์ในข้อใด ไม่มีคำซ้อน
    1.    นาคีมีพิษเพี้ยง       สุริโย
    2.    เลื้อยบ่ทำเดโช       แช่มช้า
    3.    พิษน้อยหยิ่งโยโส       แมลงป่อง
    4.    ชูแต่หางเองอ้า       อวดอ้างฤทธี
18.       คำซ้ำในข้อใด มีจำนวนพยางค์ที่ออกเสียงซ้ำน้อยที่สุด
    1.    ร่มชมพูๆ ที่เธอซื้อมาฝากจากญี่ปุ่นพังเสียแล้วเมื่อวันก่อน
    2.    คุณครูเรียกนักเรียนให้ออกมาอ่านหนังสือหน้าชั้นทีละคนๆ
    3.    แล้วในวันหนึ่งๆ มีคนมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์นี้ประมาณกี่คน
    4.    เขาไม่ได้ใส่เสื้อผ้าสีๆ มาหลายเดือนแล้วเพราะกำลังไว้ทุกข์

19.       ข้อใดไม่เป็นประโยคความรวม
    1.    ผู้ใหญ่ลีมาหามาลินีเพราะคิดถึงมาก
    2.    ผู้ใหญ่ลีมาหามาลินีหลังจากสึกแล้ว
    3.    ผู้ใหญ่ลีมาหามาลินีเลยไปทำนาสาย
    4.    ผู้ใหญ่ลีมาหามาลินีซึ่งกำลังเลี้ยงไก่
20.       ข้อใดใช้คำราชาศัพท์ “ทูลเกล้าฯถวาย” ไม่ถูกต้อง
    1.    สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติทูลเกล้าฯ ถวาย สิทธิบัตรฝนหลวง แด่พระบาทสมเด็จ
        พระเจ้าอยู่หัว
    2.    กทม. ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือสมุดภาพแผนที่ “หนึ่งศตวรรษกรุงเทพมหานคร” แด่
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    3.    สมาพันธ์นักประดิษฐ์โลกทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญรางวัล “พระอัจฉริยภาพทางการประดิษฐ์”
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    4.    หอการค้าไทยร่วมกับคณะกรรมการร่วม 3 สถาบัน (กกร.) ทูลเกล้าฯ ถวายกังหันน้ำชัยพัฒนา
             จำนวน 60 เครื่อง แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เฉลย
    1.    3    2.    1    3.    1    4.    1    5.    2
    6.    3    7.    1    8.    3    9.    2    10.    1
    11.    2    12.    2    13.    3    14.    3    15.    1
    16.    2    17.    1    18.    4    19.    4    20.    4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น