บทที่ 4


                                                       บทที่ 4

ความหมายของการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค

การวิเคราะห์ประโยค   คือ   การจำแนกแยกแยะประโยค

การสังเคราะห์ประโยค    คือ    การคิดสร้างประโยคให้ถูกต้องตามระเบียบของภาษา

        เมื่อเป็นผู้รับสารเราจะวิเคราะห์ประโยค  แต่เมื่อเราเป็นผู้ส่งสาร เราจะสังเคราะห์ประโยค ความเข้าใจเรื่องประโยคจึงช่วยให้วิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยคได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และหลักการใช้ประโยคที่ใช้ในการสื่อสารนั้น เราอาจวิเคราะห์ความแตกต่างกันในลักษณะต่างๆ ดังนี้

        1.  รูปประโยค

        2.  หน้าที่ของประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสาร

        3.  การเรียงลำดับคำในประโยค

        4.  ความยาวของประโยค

        5.  โครงสร้างของประโยค

 1.  รูปประโยค  มีด้วยกัน  5  รูปลักษณะ ดังนี้

       1.1  ประโยคกรรตุ   คือ  ประโยคที่มีประธานเป็นผู้แสดงอาการ   เช่น   แม่ดื่มกาแฟ   น้องเล่นกีฬา   เป็นลักษณะรูปประโยคที่นิยมใช้ในภาษาไทย
    1.2  ประโยคกรรม    มี 2 ลักษณะดังนี้

             -  ประโยคที่มีประธานเป็นผู้ถูกกระทำ   ในกรณีที่เป็นเรื่องไม่ดี  ไม่เป็นที่พอใจจะใช้    “ถูก”     เช่น   เขาถูกปลดออกจากตำแหน่ง         ในกรณีที่เป็นเรื่องดี เป็นที่พอใจจะใช้   “ได้รับ.......จาก”   เช่น     เขาได้รับเชิญจากสมาคมผู้ปกครองและครู

               -  ประโยคที่มีกรรมอยู่ข้างหน้าประธาน   เราจะใช้ประโยครูปนี้เมื่อต้องการเน้นกรรม   หรือ ไม่ต้องการเน้นประธาน   เช่น    ขนมถ้วยนี้น้องตักไว้เอง

        1.3  ประโยคกริยา   คือ  ประโยคที่มีกริยา เกิด  มี  ปรากฏ บังเกิดอยู่หน้าประธาน   เช่น   ปรากฏเงาประหลาดที่บริเวณชายป่าด้านนั้นเสมอ   มีข่าวหลายกระแสแจ้งว่าบุคคลสำคัญของประเทศทั้งสองจะเจรจากันเพื่อยุติปัญหาสงครามยืดเยื้อ

        1.4  ประโยคกริยาสภาวมาลา   คือ  ประโยคที่มีกริยาสภาวมาลาเป็นประธาน   ( กริยาสภามาลา   คือ คำกริยาที่เรานำมาใช้เป็นประธาน หรือกรรมของประโยค)   เช่น    คมเฉือนคม     ทำอะไรก็สู้การทำบุญไม่ได้

        1.5  ประโยคการิต    คือ   ประโยคที่มีผู้รับใช้อยู่ด้วย   เช่น        แม่ให้ฉันเช็ดโต๊ะอาหาร  (ฉัน เป็น ผู้รับใช้)

2.  หน้าที่ของประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสาร    แบ่งออกได้เป็น 3                  ประเภทดังนี้

        2.1  ประโยคแจ้งให้ทราบ    คือ   ประโยคบอกเล่า   หรือแจ้งข้อความบางประการให้ผู้รับสารทราบ อาจเป็นประโยคสั้นๆ  หรือประโยคยาวๆ  หรือเป็นใจความปฏิเสธก็ได้  ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ส่งสาร   เช่น    ฉันชอบอ่านหนังสือในห้องสมุด      คุณแม่ซื้อของขวัญให้คุณพ่อ       ธงชัยเป็นนักร้องยอดนิยม      ฉันไม่ชอบอ่านหนังสือในห้องสมุด           คุณแม่ไม่ได้ซื้อของขวัญให้คุณพ่อ      ธงชัยไม่ใช่นักร้องยอดนิยม

         2.2  ประโยคถามให้ตอบ    คือ   ประโยคคำถาม ซึ่งผู้ส่งสารใช้ถามเรื่องราวต่างๆ จากผู้รับสารมักจะมีคำแสดงการถามว่า ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร เท่าไร อย่างไร อยู่ด้วยเสมอ ถ้าเป็นคำถามที่มีเนื้อความปฏิเสธ ก็จะเห็นคำปฏิเสธอยู่ในประโยคด้วย  เช่น   คุณชอบฟังเพลงไหม    คุณไม่ชอบฟังเพลงหรือ คุณจะให้ใครไปเป็นเพื่อนบ้าง คุณจะไม่ให้ใครไปเป็นเพื่อนบ้าง

         2.3  ประโยคบอกให้ทำ  คือ   ประโยคที่ผู้ส่งสารใช้เพื่อให้ผู้รับสารกระทำตามความต้องการของผู้ส่งสาร  อาจจะเป็นคำสั่ง  อ้อนวอน  เชิญชวนขอร้อง   รูปประโยคบอกให้ทำ  จะมีประธานเป็นผู้รับสาร หรือผู้ฟัง
ดังนั้นประธานของประโยคจะเป็นสรรพนามบุรุษที่ 2  หรือบุรุษที่ 1  พหูพจน์   หรืออาจจะละไว้ในฐานะที่เข้าใจก็ได้    ถ้าประโยคบอกให้ทำมีเนื้อความปฏิเสธ ก็จะมีคำปฏิเสธอยู่ในประโยคด้วย   เช่น   เธอต้องไปพบเขาในตอนเช้า   เธอต้องไม่ไปพบเขาในตอนเช้า     เปิดประตูซิ      อย่าเปิดประตู           ถ้าคุณครูถามก็บอกว่าฉันไปธุระ    ถ้าคุณครูถามก็อย่าบอกว่าฉันไปธุระ
3.  การเรียงลำดับคำในประโยค  ในภาษาไทยถือว่าสำคัญมาก เพราะเป็นการบอกตำแหน่งหน้าที่ และความหมายของคำ การเรียงลำดับคำในประโยค ทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ในประโยค มีข้อสังเกตว่า คำที่ผู้พูดให้ความสำคัญที่สุดมักจะอยู่ที่ต้นประโยค   หรือไม่ก็อยู่ท้ายประโยค    ถ้าเรียงลำดับคำต่างกัน ความสัมพันธ์ของคำในประโยคอาจต่างกัน และทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนไปด้วย   เช่น   แมวกัดหนู    หนูกัดแมว   แต่ในบางประโยคก็สามารถเปลี่ยนการเรียงลำดับคำได้โดยที่ความหมายของประโยคยังคงเหมือนเดิม  เช่น    พรุ่งนี้เช้าเราพบกันนะ       เราพบกันพรุ่งนี้เช้านะ     แก้มเธอเปื้อนโคลน     โคลนเปื้อนแก้มเธอ
4.  ความยาวของประโยค  ประโยคมีความหมายมากขึ้นเพราะเหตุผล 2 ประการดังนี้
         4.1  การเพิ่มรายละเอียด     เพื่อใช้เป็นบทขยายส่วนใดส่วนหนึ่งในประโยค   อาจจะเกี่ยวกับเวลา   สถานที่ เหตุผล ฯลฯ   ซึ่งจะทำให้ประโยคยาวขึ้น  และมีความซับซ้อนมากขึ้น   เช่น
                “นายจิตติ  รุ่งสว่าง  ชนะการประกวดแข่งขันวาดภาพ”
                “นายจิตติ  รุ่งสว่าง  นักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่งชนะการประกวดแข่งขันวาดภาพทางวิทยาศาสตร์ ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย”     เป็นประโยคที่ยาวมากเพราะมีส่วนขยายประธาน และส่วนขยายกรรมเพิ่มเข้ามา
          4.2  ข้อความที่ซ้ำกับประโยคก่อน  ถ้าตัดออกเพื่อให้ประโยคกะทัดรัด ประโยคก็จะสั้นเข้า ถ้าไม่ตัดออก เพราะต้องการย้ำความ ประโยคก็จะยาวขึ้น   เช่น
                “เพื่อนๆ บางคนอาจเคยเดินผ่านวัดระฆังมาแล้ว แต่อาจไม่ได้สนใจว่าจะมีสิ่งใดงดงามน่าชม”
                “เพื่อนๆ บางคนอาจเคยเดินผ่านวัดระฆังมาแล้ว   แต่เพื่อนๆ อาจไม่ได้สนใจว่าวัดระฆังมีสิ่งใด งดงาม    น่าชม”
 5.  โครงสร้างของประโยค     แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด    คือ
      ประโยคความเดียว      ประโยคความรวม    และ    ประโยคความซ้อน
        5.1  ประโยคความเดียว  คือ ประโยคที่บอกให้ทราบเรื่องราวเดียว มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว   หรือแสดงกริยาอาการอย่างเดียว       มีประธาน  กริยา และกรรมอย่างละตัวเดียว  เช่น  ฉันกินข้าว  เธอไปตลาดเด็กอ่านหนังสือ    ฝนตก    นกร้อง    ฟ้าแลบ    เขาขายผลไม้
งานวันปลาร้าหอมของแม่บ้านเกษตรกรชาวอยุธยา/สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่าย
หมายเหตุ    ประโยคความเดียวมีส่วนประกอบสำคัญ  2  ส่วน   คือ
                  ภาคประธาน   และภาคแสดง
 ( ประธาน + ขยายประธาน + กริยา + กรรม + ขยายกรรม + ขยายกริยา )
         5.2  ประโยคความรวม  คือ ประโยคที่เกิดจากการนำประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยค ขึ้นไปมารวมกัน โดยใช้ความเชื่อมให้เหมาะสมแก่ลักษณะเนื้อความของประโยคความเดียวที่นำมารวมกันดังนี้
                (1)  เนื้อความคล้อยตามกัน  แบ่งออกเป็น  3  ลักษณะ ดังนี้
                      -  คล้อยตามกันที่เวลา   ใช้สันธาน   เมื่อ......…ก็       ครั้น.........ก็    พอ.........ก็      แล้ว...... จึง    
                         เช่น    เมื่อเขาอาบน้ำเสร็จเขาก็รีบเข้านอน      
                                  พอเขาเรียนสำเร็จเขาก็ได้ทำงาน
                      -  คล้อยตามเงื่อนไข   ใช้สันธาน    ถ้า.........ก็
                         เช่น     ถ้าคุณแม่อนุญาตฉันก็จะไปค้างบ้านเธอนะ       
                                   ฉันจะรักเขาถ้าเขาเป็นคนดี
                      -  คล้อยตามการกระทำ   ใช้สันธาน    ทั้ง......และ
                         เช่น     ทั้งฉันและเธอรักความยุติธรรม             
                                   ฉันและน้องไปโรงเรียน
                 (2)  เนื้อความขัดแย้งกัน  แบ่งออกเป็น  3  ลักษณะ ดังนี้
                      -  ขัดแย้งกันที่เวลา   ใช้สันธาน    กว่า........ก็
                        เช่น   กว่าเขาจะมารถไฟก็เคลื่อนออกจากสถานีไปแล้ว  
                                กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
                     -  ขัดแย้งที่เงื่อนไข  ใช้สันธาน  ถึง.........ก็   แม้...........ก็
                        เช่น     ถึงเขาจะแก่แล้วแต่เขาก็ยังแข็งแรงดี              
                                  ถึงตัวไกลใจอยู่เป็นคู่คิด
                      - ขัดแย้งกันที่การกระทำ  ใช้สันธาน  แต่   แต่ทว่า   ส่วน
                        เช่น     เขาพูดดีกับฉันเสมอแต่ฉันไม่เคยพูดดีกับเขาเลย
       
 เช่น    เมื่อเขาอาบน้ำเสร็จเขาก็รีบเข้านอน      
                                  พอเขาเรียนสำเร็จเขาก็ได้ทำงาน
                      -  คล้อยตามเงื่อนไข   ใช้สันธาน    ถ้า.........ก็
                         เช่น     ถ้าคุณแม่อนุญาตฉันก็จะไปค้างบ้านเธอนะ       
                                   ฉันจะรักเขาถ้าเขาเป็นคนดี
                      -  คล้อยตามการกระทำ   ใช้สันธาน    ทั้ง......และ
                         เช่น     ทั้งฉันและเธอรักความยุติธรรม             
                                   ฉันและน้องไปโรงเรียน
                 (2)  เนื้อความขัดแย้งกัน  แบ่งออกเป็น  3  ลักษณะ ดังนี้
                      -  ขัดแย้งกันที่เวลา   ใช้สันธาน    กว่า........ก็
                        เช่น   กว่าเขาจะมารถไฟก็เคลื่อนออกจากสถานีไปแล้ว  
                                กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
                     -  ขัดแย้งที่เงื่อนไข  ใช้สันธาน  ถึง.........ก็   แม้...........ก็
                        เช่น     ถึงเขาจะแก่แล้วแต่เขาก็ยังแข็งแรงดี              
                                  ถึงตัวไกลใจอยู่เป็นคู่คิด
                      - ขัดแย้งกันที่การกระทำ  ใช้สันธาน  แต่   แต่ทว่า   ส่วน
                        เช่น     เขาพูดดีกับฉันเสมอแต่ฉันไม่เคยพูดดีกับเขาเลย
                 (3)  เนื้อความเป็นเหตุเป็นผลกัน   ใช้สันธาน  จึง   เพราะว่า  เพราะฉะนั้น.......จึง    เพราะ


                                       

คำชี้แจง    ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1.    การใช้ระดับเสียงให้มีความแตกต่างกันในขณะที่อ่าน มีประโยชน์ต่อการอ่านเนื้อหาสาระในข้อใดมาก    ที่สุด
    1.    นิทาน
    2.    ปาฐกถา
    3.    แถลงการณ์
    4.    พระบรมราโชวาท


2.    ประโยคในข้อใดอ่านออกเสียงไม้ยมกแตกต่างจากข้ออื่น


    1.    เธอเห็นลูกแมวตัวสีดำ ๆ วิ่งมาทางนี้บ้างหรือไม่
    2.    เด็กตัวเล็ก ๆ เมื่อตะกี้ เป็นหลานชายของฉันเอง
    3.    ในวันหนึ่ง ๆ ป้าแกต้องอาบเหงื่อต่างน้ำหาบของไปขายทุกวัน
    4.    ทุก ๆ วัน แถวนี้จะเต็มไปด้วยรถนานาชนิดที่ทำให้การจราจรคับคั่ง




3.     ข้อความใดแบ่งจังหวะวรรคตอนในการอ่านได้ถูกต้อง
  
1.     มีคน/จำนวนไม่น้อย/เชื่อว่าความตายเป็นสิ่งที่จัดการได้//จัดการใน
ที่ นี้หมายถึง/
    2.    เราเชื่อว่า/ทุกอย่างจัดการได้/เพราะเรามีเทคโนโลยี/เรามีเงิน/เรามีความรู้/เราจึงมั่นใจว่า/เราสามารถ        จัดการ/สิ่งต่างๆ ได้
    3.    เราสามารถจัดการธรรมชาติ/เราสามารถจัดการสังคม/และเราเชื่อว่า/เราสามารถจัดการร่างกายของเรา        ได้
    4.    โฆษณาทุกวันนี้/บอกเราว่าทุกอย่างจัดการได้//เราจึงเชื่อจริงๆ ว่า/ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จัดการไม่ได้/        รวมทั้งความตาย


4.    ข้อใดไม่มีความเกี่ยวข้องกับการอ่านจับใจความสำคัญ
    1.    การจับใจความสำคัญเป็นทักษะเบื้องต้นของการรับสาร
    2.    ใจความสำคัญคือความคิดสำคัญหรือประเด็นสำคัญของเรื่อง
  1. การจับใจความสำคัญสามารถทำได้ทั้งการรับสารด้วยการอ่านและการฟัง
  2. การจับใจความสำคัญด้วยการฟังไม่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมก่อนการฟัง


  1. “ท้องฟ้ามีอยู่แบบท้องฟ้า ก้อนเมฆลอยอยู่แบบก้อนเมฆ พระอาทิตย์สาดแสงในแบบของพระอาทิตย์                 นกร้องแบบที่มันร้อง ดอกไม้สวยงามเป็นธรรมชาติของดอกไม้ ลมพัดเพราะมันคือลม หอยทากเดินช้าอย่างที่หอยทากเป็น เหมือนธรรมชาติกำลังกระซิบบอกฉันว่ามันเพียงเป็นของมันอย่างนั้น มันไม่ร้องขอ ฉันจะมองเห็นมัน หรือไม่เห็นมัน มันไม่เรียกร้องให้ต้องชื่นชม ต้องแลกเปลี่ยน ต้องขอบคุณ เป็นของมันอย่างนั้น ไม่ได้ต้องการอะไร มันเพียงแต่เป็นไป ทุกอย่างเป็นธรรมชาติของมัน” ใจความสำคัญของข้อความนี้ตรงกับข้อใด
  1. ธรรมชาติไม่เคยสนใจมนุษย์
  2. ธรรมชาติไม่เคยเรียกร้องอะไรจากมนุษย์
  3. ธรรมชาติไม่ต้องการคำชื่นชมจากมนุษย์
  4. ทุกอย่างที่เป็นธรรมชาติ ล้วนมีความสวยงาม

6.     คำในข้อใดมีความหมายอ้อม
1.     น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา
  1. อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
  2. โบราณว่าถ้าเหลือกำลังลาก ให้ออกปากบอกแขกช่วยแบกหาม
  3. ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

7.     ข้อใดสำคัญที่สุดในการเขียนกรอบความคิด
    1.     การจับใจความสำคัญ
    2.    การลากเส้นโยงนำความคิด
  1. การกำหนดรูปแบบในการนำเสนอ
  2. การใช้ภาพหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้อง

8.     “คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ตัว ยังคงอยากได้อะไรที่มากขึ้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง เกียรติยศชื่อเสียงหรือ    ความรัก และก็มักจะไม่ได้ดังใจนึก ความทุกข์ก็ยิ่งมากขึ้นตามวัยที่มากขึ้นด้วย” ใจความสำคัญของ    ข้อความนี้ตรงกับข้อใด
  1. ความอยากของมนุษย์เพิ่มตามอายุ
  2. คนเราเมื่ออายุมากขึ้น ความต้องการจะเพิ่มมากขึ้น
  3. ถ้ามนุษย์อยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด ก็จะยิ่งมีแต่ความทุกข์
  4. ความทุกข์ของมนุษย์เกิดจากความต้องการในทรัพย์สิน เงินทอง

9.     ข้อใดให้ความหมายของคำว่า “วิเคราะห์” ได้ถูกต้องที่สุด
  1. พิจารณาความหมายแฝงเร้นของเรื่อง
  2. พิจารณาเจตนาหรือแนวคิดสำคัญของเรื่อง
  3. พิจารณาย่อหน้าเพื่อจับสาระสำคัญของเรื่อง
  4. พิจารณาแยกแยะองค์ประกอบแต่ละส่วนภายในเรื่อง

10.     “ผู้ใดเกิดเป็นสตรีอันมีศักดิ์        บำรุงรักกายไว้ให้เป็นผล
        สงวนงามตามระบอบไม่ชอบกล            จึงจะพ้นภัยพาลการนินทา”
    ข้อคิดที่ได้รับจากบทร้อยกรองข้างต้นตรงกับข้อใด
  1. เป็นผู้หญิงต้องรู้จักรักนวลสงวนตัว
  2. เป็นผู้หญิงต้องรู้จักเจียมเนื้อเจียมตัว
  3. เป็นผู้หญิงต้องงดเว้นการนินทาว่าร้าย
  4. เป็นผู้หญิงต้องแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ

11.     ข้อใดเป็นวิธีการอ่านตีความร้อยกรอง
  1. ตีความจากสาระสำคัญของเรื่อง
  2. ตีความถ้อยคำโดยพิจารณาจากบริบท
  3. ตีความข้อความโดยเปรียบเทียบสำนวนโวหารที่ใช้
  4. ตีความโดยทำความเข้าใจเรื่องภาษาภาพพจน์ที่ใช้ในงานเขียน

12.     ข้อใดเรียงลำดับถูกต้อง
  1. เล่าเรื่อง วิเคราะห์เรื่อง กล่าวถึงบริบท บอกจุดมุ่งหมาย ประเมินค่า
  2. เล่าเรื่อง บอกจุดมุ่งหมาย วิเคราะห์เรื่อง กล่าวถึงบริบท ประเมินค่า
  3. เล่าเรื่อง กล่าวถึงบริบท บอกจุดมุ่งหมาย วิเคราะห์เรื่อง ประเมินค่า
  4. เล่าเรื่อง วิเคราะห์เรื่อง กล่าวถึงบริบท บอกจุดมุ่งหมาย ประเมินค่า

13.     การอ่านวินิจสารมีความลึกซึ้งแตกต่างจากการอ่านจับใจความสำคัญในประเด็นใด
  1. การสรุปเนื้อหา
  2. การบอกประเภท
  3. การประเมินคุณค่า
  4. การบอกองค์ประกอบ

14.     ข้อใดปรากฏคำที่มีความหมายโดยนัย
  1. ปฐมพงษ์เดินไปที่ห้องครัวแล้วลื่นล้มเตะแก้วแตก
  2. กระโปรงตัวนี้ตัดเย็บสวยเตะตาฉันจริง ๆ เชียว! เธอ
  3. โด่งซ้อมเตะฟุตบอลที่สนามกีฬาของโรงเรียนทุก ๆ เย็น
  4. จ้อยเตะสุนัขที่กำลังจะเดินตรงเข้ามากัดที่โคนขาของเขา

15.     จุดประสงค์สำคัญที่สุดของการคัดลายมือตรงกับข้อใด
  1. ฝึกฝนสมาธิให้แก่ตนเอง
  2. ฝึกฝนความเพียรพยายามให้แก่ตนเอง
  3. เพื่อสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับรูปแบบตัวอักษรไทย
  4. เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้เกิดขึ้นแก่คนในชาติ

16.     การระบุว่าข้อความหนึ่ง ๆ คัดด้วยอักษรรูปแบบใด ข้อใดคือจุดสังเกตสำคัญ
  1. การเว้นช่องไฟ
  2. โครงสร้างของตัวอักษร
  3. การลงน้ำหนักมือบนตัวอักษร
  4. ความเสมอต้นเสมอปลายของตัวอักษร

17.     ลายมือที่ไม่ชัดเจนเป็นผลเสียอย่างไร
  1. ทำให้งานเขียนไม่น่าสนใจ
  2. ทำให้วิเคราะห์ผลงานไม่ได้
  3. ทำให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร
  4. ทำให้สื่อสารไม่ตรงวัตถุประสงค์

18.    รูปประโยคต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
  1. เขาทำอะไรเก้งก้างไม่ทันกิน
  2. ตำรวจกำลังซักฟอกผู้ต้องหา
  3. พจน์ร้องเพลงเสียงหวานปานนกการเวก
  4. ออมเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัวเมื่ออยู่กับผู้ใหญ่

19.    “ชุ่มคอโดนใจ” เป็นงานเขียนประเภทใด
  1. คำคม
  2. คำขวัญ
  3. โฆษณา
  4. คำแนะนำ

20.    ถ้าต้องเขียนจดหมายเรียนเชิญวิทยากรมาบรรยายในหัวข้อที่กำหนด ภาษาที่ใช้ในการเขียน ควรมี    ลักษณะอย่างไร
  1. ข้อความสั้นกะทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อ
  2. ใช้ภาษาฟุ่มเฟือย แต่อ่านเข้าใจง่าย
  3. ภาษาแบบแผน ใช้ศัพท์วิชาการสูงๆ
  4. ภาษากึ่งแบบแผนหรือแบบแผน

    แนวข้อสอบ O-Net   วิชา ภาษาไทย

ข้อที่
เฉลย
เหตุผลประกอบ
1.
1
การอ่านออกเสียงพระบรมราโชวาท ปาฐกถาและแถลงการณ์ ผู้อ่านออกเสียงจะต้องมุ่งเน้นไปที่การแบ่งวรรคตอนให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันการสื่อความคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ ยังต้องออกเสียงคำให้ชัดเจน เช่น คำควบกล้ำ อักษรนำ  เป็นต้น แต่การอ่านนิทานซึ่งมีเนื้อหาในการเสริมสร้างจินตนาการให้แก่ผู้ฟัง การใช้ระดับเสียงให้แตกต่างในขณะที่อ่าน มีความหนัก เบา สูง ต่ำ จะช่วยทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตามและสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องได้ง่ายขึ้น
2.
3
การอ่านเครื่องหมาย ๆ ไม้ยมก ที่ใช้วางหลังคำหรือข้อความที่ต้องการให้อ่านออกเสียงซ้ำ ซึ่งอาจซ้ำคำเดียวหรือมากกว่าหนึ่งคำก็ได้ แล้วแต่ความหมาย การอ่านไม้ยมกจึงสามารถอ่านได้หลายแบบ เช่น อ่านซ้ำคำ ของดีๆ อ่านว่า ของ-ดี-ดี อ่านซ้ำกลุ่มคำ เช่น วันละคนๆ อ่านว่า วัน-ละ-คน-วัน-ละ-คน อ่านซ้ำประโยค เช่น โอเลี้ยงมาแล้วครับๆ อ่านว่า โอ-เลี้ยง-มา-แล้ว-ครับ โอ-เลี้ยง-มา-แล้ว-ครับ จากตัวเลือกที่กำหนด ข้อ 1. อ่านว่า สี-ดำ-ดำ ข้อ 2. อ่านว่า ตัว-เล็ก-เล็ก ข้อ 4. อ่านว่า ทุก-ทุก-วัน ส่วนข้อ 3. อ่านว่า ใน-วัน-หนึ่ง-วัน-หนึ่ง
3.
4
การแบ่งวรรคตอน หรือการแบ่งจังหวะเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการอ่านออกเสียง เพราะการแบ่งวรรคตอนที่ผิดพลาด อาจทำให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาสาระของสารคลาดเคลื่อนไป
4.
4
การจับใจความสำคัญเป็นทักษะเบื้องต้นของการรับสารไม่ว่าด้วยวิธีการอ่านหรือฟัง ผู้รับสารจะต้องค้นหาความคิดสำคัญหรือประเด็นของเรื่องให้ได้ ซึ่งการจับใจความสำคัญด้วยการฟัง หากผู้ฟังพอจะทราบหัวข้อของการฟังก็ควรที่จะเตรียมความพร้อม โดยหาความรู้เบื้องต้น เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ รวมถึงเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
5.
4
จากข้อความได้กล่าวถึง ความเป็นไปของธรรมชาติ ธรรมชาติทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามแบบฉบับของมัน และด้วยความที่เป็นธรรมชาติมันจึงสวยงาม
6.
1
เพราะเป็นสำนวนที่มีความหมายว่า จังหวะหรือโอกาสของฝ่ายใด ฝ่ายนั้นก็ได้เปรียบ เป็นฝ่ายมีชัย

ข้อที่
เฉลย
เหตุผลประกอบ
7.
1
การเขียนกรอบแนวคิดที่ดี ผู้เขียนจะต้องสามารถจับใจความ หรือเก็บรายละเอียดของสิ่งที่ได้ฟังและดู เพื่อนำมาถ่ายทอดเป็นกรอบความคิดได้ครบถ้วน ตรงประเด็น
8.
3
สาระสำคัญของข้อความที่กำหนด คือ มนุษย์ทุกคนมีความอยาก ความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เมื่ออยากได้ก็ย่อมมีแต่ความทุกข์ที่ไม่มีสิ้นสุดเช่นกัน
9.
4
ในการรับสาร นอกจากการทำความเข้าใจสารแล้ว ผู้รับสารจำเป็นต้องวิเคราะห์สารที่ได้รับมานั้น ว่ามีความถูกต้อง น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด มีความเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ ส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อผู้รับสารสามารถวิเคราะห์หรือแยกแยะองค์ประกอบแต่ละส่วนภายในเรื่องได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน
10.
1
พิจารณาจากข้อความที่ปรากฏในบทประพันธ์ ในวรรคที่สามหรือวรรครอง ปรากฏคำว่า สงวนงาม โดยมีความหมายว่า ให้ระวังรักษาตนทั้งกาย วาจา ใจ ให้มีความเหมาะสม งดงาม ซึ่งการประพฤติผิดหรือไม่ถูกต้องตามค่านิยม และมักได้รับการนินทาว่าร้ายมากที่สุดคือ การไม่รักนวลสงวนตัว ซึ่งนักเรียนต้องวิเคราะห์ต่อไปว่า ตัวเลือกในข้อใดมีความสอดคล้องกับคำข้างต้นมากที่สุด ซึ่งคำตอบในข้อ 2., 3. และ 4. ไม่มีความสัมพันธ์กับคำว่า สงวนงาม
11.
1
บทร้อยกรอง เป็นบทอ่านที่ผู้อ่านจะต้องถอดความสาระสำคัญออกมาเป็นร้อยแก้วก่อน แล้วจึงตีความ จากสาระสำคัญของเรื่อง
12.
2
การอ่านเพื่อประเมินคุณค่าสาร เริ่มจากผู้อ่านจะต้องอ่านเรื่องให้จบตลอดทั้งเรื่อง เพื่อให้เล่าเรื่องได้ บอกจุดมุ่งหมายของเรื่อง วิเคราะห์ส่วนประกอบภายในเรื่อง กล่าวถึงบริบทแวดล้อมเรื่องที่อ่าน แล้วจึงประเมินค่า
13.
3
การอ่านวินิจสารมีความแตกต่างจากการอ่านจับใจความสำคัญในประเด็นของการประเมินคุณค่า เพราะการอ่านจับใจความสำคัญ เป็นเพียงการอ่านเพื่อให้ทราบว่าเรื่องที่อ่านเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ในขณะที่การอ่านวินิจสาร ผู้อ่านจะต้องบอกได้ว่าเรื่องที่อ่านมีคุณค่าอย่างไร
14.
2
เมื่อพิจารณาจากตัวเลือกทั้ง 4 ข้อ คำที่จะต้องพิจารณาคือคำว่า “เตะ” ซึ่งข้อ 1., 3. และ 4. คำว่า “เตะ” เป็นคำกริยาที่มีความหมายปรากฏตามรูปคำหรือมีความหมายนัยตรง โดยหมายถึง “วัดหรือเหวี่ยงไปด้วยเท้า” ส่วนคำว่า “เตะ” ในข้อ 2. มีความหมายโดยนัยซึ่งหมายถึง “สะดุดตา”


       
ข้อที่
เฉลย
เหตุผลประกอบ
15.
3
ผู้ที่ฝึกฝนคัดลายมืออย่างเป็นประจำ สม่ำเสมอจะได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เป็นผู้ที่มีลายมือถูกต้อง เรียบร้อย สวยงาม ฝึกสมาธิ และความเพียรพยายาม นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ภาคภูมิใจในมรดกของชาติ แต่จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการกำหนดให้เยาวชนไทยต้องฝึกฝนการคัดลายมือก็เพื่อสร้างความเป็นมาตรฐาน รักษาแบบแผนอักษรไทยไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง จนกระทั่งสูญเสียความเป็นเอกลักษณ์ไปในที่สุด
16.
2
การจะระบุว่าข้อความหนึ่งๆ คัดด้วยอักษรรูปแบบใด คือ การสังเกตโครงสร้างของตัวอักษรว่ามีลักษณะอย่างไร เช่น การเขียนส่วนหัว การโค้ง การหยัก แนวเส้น   เป็นต้น ส่วนการเว้นช่องไฟ การลงน้ำหนักมือ และความเสมอต้นเสมอปลายของตัวอักษรที่คัด เป็นเกณฑ์ที่ใช้สำหรับวัดคุณภาพของลายมือ เพื่อการตัดสินประกวดคัดลายมือ หรือใช้เป็นแนวทางเพื่อฝึกฝนคัดลายมือ
17.
4
การเขียนสื่อสารครั้งหนึ่งๆ เมื่อเขียนพยัญชนะ ตัวเลข หรือเครื่องหมายต่างๆ ด้วยลายมือที่ไม่ชัดเจน จะทำให้ผู้รับสาร อาจรับสารผิดพลาดไปจากความเป็นจริง เนื่องจากไม่สามารถอ่านลายมือได้
18.
2
จากตัวเลือกข้อ 4. ประโยคที่ถูกต้องคือ ออมเป็นคนสงบเสงี่ยมเมื่ออยู่กับผู้ใหญ่ ข้อ 3. ประโยคที่ถูกต้องคือ พจน์ร้องเพลงเสียงปานนกการเวก ข้อ 1. ประโยคที่ถูกต้องคือ เขาทำอะไรงุ่มง่ามไม่ทันกิน
19.
3
ชุ่มคอโดนใจ เป็นงานเขียนประเภทโฆษณา เพราะเนื้อหาสาระมีความมุ่งหมายให้ผู้ฟังเกิดความสนใจ
20
4
การเขียนจดหมายกิจธุระ เพื่อขอความอนุเคราะห์วิทยากร ผู้เขียนควรใช้ภาษากึ่งแบบแผน หรือภาษาแบบแผน เพื่อให้ผู้รับเกิดความประทับใจ ยินดีให้ความอนุเคราะห์



  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น