บทที่ 3



                                                      บทที่ 3


       

การเรียงความ

 ความหมายของเรียงความ

         เรียงความ เป็นงานเขียน ร้อยแก้ว ชนิดหนึ่งที่ผู้เขียนมุ่งถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ ความคิด และทัศนคติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบเรียงอย่างมีลำดับขั้นและสละสลวย

องค์ประกอบของเรียงความ

       

 คำนำ

        เป็นส่วนแรกของเรียงความ ทำหน้าที่เปิดประเด็น ดึงดูดความสนใจ พิถีพิถัน คำนึงถึงเรื่องที่ตนจะเขียน เน้นศิลปะในการใช้ภาษา
การเขียนคำนำ ควรยึดแนวทางต่อไปนี้
  • ไม่ยืดยาด เยิ่นเย้อ
  • ไม่ควรกล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง
  • ไม่ควรซ้ำกับส่วนสรุปหรือความลงท้าย
  • อาจหาคำคม สำนวน สุภาษิต หรือบทกวีที่ไพเราะและเกี่ยวกับเนื้อเรื่องมาเป็นคำนำก็ได้

เนื้อเรื่อง

        เป็นส่วนสำคัญและยาวที่สุดของเรียงความ ประกอบด้วย ความรู้ ความคิด และข้อมูลที่ผู้เขียนค้นคว้า และเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ ระเบียบ การเขียนเนื้อเรื่องเป็นการขยายความในประเด็นต่าง ๆ ตามโครงเรื่องที่วางไว้ล่วงหน้าแล้ว ในการเขียนอาจมีการยกตัวอย่าง การอธิบาย การพรรณนา หรือยกโวหารต่าง ๆ มาประกอบด้วย โดยอาจจะมีย่อหน้าหลายย่อหน้าก็ได้
การเขียนเนื้อเรื่องควรยึดแนวทางต่อไปนี้
  • ความถูกต้อง แจ่มแจ้งสมบูรณ์ ผู้อ่านสามารถเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเรียกว่ามีสารัตถภาพ
  • ใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า จะต้องมีเพียงใจความเดียว ไม่ออกนอกเรื่อง สับสน วกวน ซึ่งเรียกว่ามีเอกภาพ
  • เนื้อหาในแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันโดยตลอด ย่อหน้าที่มาหลังจะต้องเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับย่อหน้าที่มาก่อน ซึ่งเรียกว่ามีสัมพันธภาพ

 สรุป

        เป็นส่วนสุดท้าย หรือย่อหน้าสุดท้ายในเรียงความแต่ละเรื่อง ผู้เขียนจะทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ สอดคล้องกับเรื่องที่เขียน กระชับรัดกุม ซึ่งการเขียนสรุปมีหลายวิธี เช่น ฝากข้อคิด และความประทับใจให้ผู้อ่านย้ำความคิดสำคัญของเรื่อง ชักชวนให้ปฏิบัติตาม ให้กำลังใจแก่ผู้อ่าน ตั้งคำถามที่ชวนให้ผผู้อ่านคิดหาคำตอบ และยกคำพูด คำคม สุภาษิต หรือบทกวีที่น่าประทับใจ เป็นต้น การเขียนสรุปควรยึดแนวทางต่อไปนี้
  • เขียนสั้น ๆ ไม่เยิ่นเย้อ (ความยาวควรจะเท่า ๆ กับคำนำ)
  • อาจสรุปโดยการอ้อนวอน เชิญชวนหรือแสดงความคิดเห็น
  • ควรหลีกเลี่ยงคำขออภัย หรือคำออกตัวว่าผู้เขียนไม่มีความรู้
  • ไม่ควรเสนอประเด็นใหม่เข้ามาอีก

 ขั้นตอนการเขียนเรียงความ

 การเลือกเรื่อง

        หากจะต้องเป็นผู้เลือกเรื่องเองแล้ว ควรเลือกตามความชอบ หรือความถนัดของตนเอง

การค้นคว้าหาข้อมูล

        อาจทำได้โดยการค้นคว้าจากหนังสือ นิตยสาร วารสาร อินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่น

วางโครงเรื่อง

        เมื่อได้หัวข้อเรื่องแล้ว ต้องวางโครงเรื่อง โดยคำนึงถึงการจัดการ จัดลำดับหัวข้อเรื่องที่จะเขียนให้สัมพันธ์ ต่อเนื่องกัน เช่น
  1. จัดลำดับหัวข้อตามเวลาที่เกิด
  2. จัดลำดับหัวข้อจากหน่วยเล็กไปสู่หน่วยใหญ่
  3. จัดลำดับตามความนิยม
        โครงเรื่องของงานเขียนควรจัดหมวดหมู่ของแนวคิดสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการเขียน โครงเรื่องเปรียบเสมือนแปลนบ้าน ผู้สร้างบ้านจะต้องใช้แปลนบ้านเป็นแนวทางในการสร้างบ้าน การเขียนโครงเรื่องจึงมีความสำคัญทำให้ผู้เขียนเรียงความเขียนได้ตรงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าไม่เขียนโครงเรื่องหรือไม่วางโครงเรื่อง เรียงความอาจจะออกมาไม่ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการ

 การเรียบเรียง

        ตามรูปแบบของเรียงความ ตามองค์ประกอบ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป (บางคนอาจเขียนคำนำหลังสุดก็ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงเนื้อหาที่ซ้ำซ้อน)

ลักษณะของเรียงความที่ดี

        นอกจากต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง ๓ ส่วน คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป แล้วยังต้องมีลักษณะดังนี้อีกด้วย

 เอกภาพ

        คือ ในแต่ละย่อหน้า ความคิดสำคัญต้องมีเนื้อหาไปในทิศทางเดียวกันกับหัวข้อเรื่อง

สัมพันธภาพ

        คือ ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันตลอดทั้งเรื่อง โดยจะต้องมีการวางโครงเรื่องที่ดี จัดลำดับย่อหน้าอย่างมีระบบระเบียบ เรียบเรียงด้วยคำเชื่อมที่เหมาะสม

สารัตถภาพ

        คือ มีเนื้อหาสาระที่สมบูรณ์ตลอดทั้งเรื่องโดยในแต่ละย่อหน้า ประโยคสำคัญต้องชัดเจน ประโยคขยายมีน้ำหนักเชื่อถือได้ ถูกต้องตามข้อเท็จจริง เพื่อช่วยเน้นย้ำให้ประโยคใจความสำคัญมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การเขียนจดหมายลาครู
การเขียนจดหมายลาลาครูเป็นการเขียน ตนไม่สามารถมาเรียนได้ จำเป็นต้องหยุดเรียน เนื่องจากเจ็บป่วย หรือมีธุระจำเป็น
มารยาทในการเขียนจดหมาย
1. ใช้กระดาษที่สุภาพ เช่น กระดาษเขียนจดหมายสีขาว กระดาษที่ใช้ต้องไม่ขาดหรือยับ เป็นต้น
2. เขียนด้วยลายมือที่สวยงาม สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย
3. ใช้ภาษาที่สุภาพ และเขียนสั้นๆ
รูปแบบการเขียนจดหมาย
1. ที่อยู่ของผู้เขียน อยู่ตรงมุมบนขวาของหน้ากระดาษให้เริ่มเขียนที่กึ่งกลางหน้ากระดาษ
2. วัน เดือน ปี ให้เขียนกึ่งกลางหน้ากระดาษ โดยเขียนวัน เดือน ปี ที่จะเขียนจดหมาย
3. คำขึ้นต้น ให้เขียนเว้นคั่นหน้ากระดาษ 1.5 นิ้ว
4. เนื้อหา เริ่มเขียนโดยย่อหน้าเล็กน้อย โดยเขียนบอกสาเหตุ และบอกระยะเวลาการลา
5. คำลงท้าย อยู่ตรงกับวันเดือนปีที่เขียน เป็นการบอกกล่าวแสดงความเคารพ
6. ลงชื่อผู้เขียน ให้เขียนเยื้องลงมาทางขวามือเล็กน้อย
7. คำรับรองของผู้ปกครอง ให้เขียนตรงกับคำขึ้นต้นแล้วให้ผู้ปกครองลงชื่อกำกับไว้

ตัวอย่าง จดหมายลาครู









การย่อความ
คือ การเก็บเนื้อความหรือใจความสำคัญของเรื่อง
แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ให้ต่อเนื่อง กะทัดรัด และคงสาระเดิม
มีหลักการย่อความ ดังนี้
๑) เขียนคำขึ้นต้นย่อความตามประเภทของเรื่อง
๒) อ่านเรื่องที่จะย่อความโดยละเอียด ทำความเข้าใจเนื้อเรื่องและสำนวน
โวหารต่าง ๆ
๓) สรุปใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า แล้วเรียบเรียงให้สอดคล้องต่อเนื่อง
เป็นสำนวนของผู้ย่อ โดยคงความหมายเดิมไว้อย่างครบถ้วน
๔) เรื่องที่เป็นคำประพันธ์ร้อยกรองต้องถอดคำประพันธ์เป็นร้อยแก้ว
แล้วจึงย่อความ
๕) สรรพนามบุรุษที่ ๑ ,๒ ต้องเปลี่ยนเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓
๖) ถ้าเป็นคำราชาศัพท์ต้องคงคำราชาศัพท์ไว้
๗) ถ้าไม่มีชื่อเรื่องให้ตั้งชื่อเรื่องด้วย











1.       การนำคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษมาใช้ในข้อใด ที่ทำให้ภาษาไทยมีวงศัพท์เพิ่มขึ้น
    1.    มาเรียนอยู่ในกรุงเทพฯ ยูนิเวอร์ซิตี้ที่ทันสมัย
    2.    ซัมเมอร์แม่เรียกตัวกลับมาช่วยทำไร่ทำนาอยู่ที่บ้านหนองใหญ่
    3.    ชาวบ้านก็ด้อยการศึกษากินแต่ปลาร้าที่ไม่พาสเจอร์ไรซ์
    4.    ให้มาเป็นฟาร์เมอร์ ดาวว่ามันไม่ใช่ มันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของดาว
2.   ข้อใดเป็นคำที่มีที่มาจากภาษาบาลีทุกคำ
    1.    ศีรษะ  ปัญญา
    2.    ขันติ   อิจฉา
    3.    วงกต   พรรษา
    4.    พุทธิ   ศรัทธา
3.   คำประพันธ์ในข้อใดมุ่งเสนอข้อเท็จจริง ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็น
    1.    อันชาติใดไร้ศานติสุขสงบ        ต้องมัวรบราญรอนหาผ่อนไม่
    2.    แม้ผู้ใดไม่นิยมชมสิ่งงาม           เมื่อถึงยามเศร้าอุราน่าสงสาร
    3.    ใครดูถูกผู้ชำนาญในการช่าง            ความคิดขวางเฉไฉไม่เข้าเรื่อง
    4.    ควรไทยเราช่วยบำรุงวิชาช่าง           เครื่องสำอางแบบไทยสโมสร



4.       สำนวนในข้อใด เป็นวิธีการแสดงความคิดเห็นที่เหมาะสมที่สุด
    1.    ได้ทีขี่แพะไล่
    2.    เด็ดบัวไม่ไว้ใย
    3.    ไม่เออออห่อหมก
    4.    เห็นดำเห็นแดง
5.       คำขวัญรณรงค์ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ข้อใดที่ไม่มีการยกเหตุผลสนับสนุน
    1.    ใช้หน้ากากอนามัย ห่างไกลหวัด 2009
    2.    กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ คือวิธีป้องกัน
    3.    ไอ-จามปิดปาก ถ้าไม่อยากแพร่เชื้อหวัด
    4.    เป็นหวัดให้อยู่บ้าน อย่าเป็นตัวการแพร่เชื้อ
6.       ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของความคิดสร้างสรรค์
    1.    คิดนอกกรอบ
    2.    คิดเล็กคิดน้อย
    3.    คิดพลิกแพลง
    4.    คิดหลากหลาย
7.          น้องบอกว่าลืมไม่ได้ใจมันทุกข์             เพราะน้องซุกใจเศร้าเฝ้าไห้หวน
       อยากให้น้องคิดใหม่…ใคร่ชักชวน               ขึ้นทางด่วนเดินจากซากอาวรณ์
       คำที่ขีดเส้นใต้ในคำประพันธ์ข้างต้นใช้คำในข้อใดแทนได้โดยใจความสำคัญไม่เปลี่ยน
    1.    คร่ำครวญ
    2.    รัญจวน
    3.    กำสรวล
    4.    หอมหวน
8.   ข้อใดไม่ใช่ลักษณะคำประพันธ์ประเภทกลอนหัวเดียว
    1.        ฉันจะไม่ทักหนอไม่ทาย              ฉันกลัวว่าแกจะอายแก่หน้า
        ฉันร้องทักชมโฉม                            กันไปด้วยลมวาจา
    2.        รำกับใครมันไม่ชื่นใจ                   เหมือนรำกับหล่อน
        คนสวยเชิญมารำฟ้อน                       โอ้แม่หางตางอนเชิญมารำวง
    3.        พี่มีคุณความดีเป็นที่กำบัง              มีธรรมะมากพลังรักษา
        น้องเอ๋ยตัดบัวยังเหลือเยื่อใย              น้องอย่าเพิ่งตัดสายเสน่หา
    4.        เหลืองเอ๊ยใบยอ                             ซ้อนช่อมะม่วง
        มีพบก็มีพราก                                   จำจากพ่อพุ่มพวง

9.       เพลงกล่อมเด็กในข้อใดแสดงถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูกได้ชัดเจนที่สุด
    1.        นอนเสียเถิด                      ขวัญเจ้าจะเกิดในดอกบัว
        แม่เลี้ยงเจ้าไว้                      เพื่อจะได้เป็นเพื่อนตัว
    2.        เนื้อเอ๋ยเนื้ออุ่นเอย              เนื้อละมุนคือสำลี
        แม่ไม่ให้ใครต้อง                  แม่กลัวเจ้าจะหมองศรี
    3.        เนื้อเอ๋ยเนื้ออ่อนเอย           ไม่หลับไม่นอนอ้อนแม่อยู่อาลัย
        พี่เลี้ยงนางนมอยู่ไหน            ไม่มาไกวให้เจ้านอน
    4.        นกเขา เอ๋ย                          ขันตั้งแต่เช้าไปจวนเย็น
        ขันให้ดังแม่จะฟังเล่น             เสียงเย็นๆลูกน้อยกลอยใจ
10.       ผู้ใดไม่ได้ใช้กระบวนการระดมความคิดในการแสวงหาความรู้
    1.    สุวิทย์ค้นหาข้อมูลเพื่อการทำรายงานเรื่อง “ ความสุขที่แท้จริง” จากหนังสือหลายเล่ม
    2.    สุชัยสัมภาษณ์เพื่อนร่วมงานทุกคนเพื่อสรุปความเห็นเรื่องการตกแต่งห้องทำงาน
    3.    สุจิตต์สรุปเนื้อหาจากสารานุกรมไทยฉบับเยาวชนส่งครูผู้สอนวิชาภาษาไทย
    4.    สุวรรณเรียกประชุมเพื่อนๆ เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาขยะในโรงเรียน
11.       เพราะเหตุใดจึงต้องใช้เลขไทยในการเขียนภาษาไทย
    1.    เพราะเลขไทยถือว่าเป็นสมบัติของชาติ การใช้เลขไทยจึงเป็นการช่วยรักษาสมบัติชาติวิธีหนึ่ง
       2.    เพราะเลขไทยอ่านได้เฉพาะคนไทย การใช้เลขไทยจึงจำเป็นในการเขียนเอกสารลับทางราชการ
    3.    เพราะเลขไทยถือเป็นภาษาราชการอย่างหนึ่ง การใช้เลขไทยจึงจำเป็นต่อการเขียนอย่างเป็นทางการ
    4.    เพราะเลขไทยอยู่บนแป้นพิมพ์ การใช้เลขไทยในการพิมพ์จึงสะดวกกว่าเพราะไม่ต้องเปลี่ยนชุด
ตัวอักษร
12.       สำนวนใดกล่าวถึงการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับฐานะบุคคล
    1.    คนยากว่าผี   คนมีว่าศพ
    2.    ผู้ดีเดินตรอก   ขี้ครอกเดินถนน
    3.    เข้าเมืองตาหลิ่ว   ต้องหลิ่วตาตาม
    4.    พูดไปสองไพเบี้ย   นิ่งเสียตำลึงทอง
13.       ข้อใดมี “คำคะนอง”
    1.    วัยรุ่นต้องทำความเข้าใจผู้ใหญ่บ้าง
    2.    อย่ามาเว่อร์มากไปหน่อยเลย
    3.    เขาไม่ชอบยุ่งวุ่นวงวุ่นวายกับใคร
    4.    อย่าทำงานแบบลวกๆ มาส่งครู


14.       ข้อควรคำนึงเมื่อต้องใช้ข้อมูลสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตในการแสวงหาความรู้ คือข้อใด
    1.    ความรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูล
    2.    ความคุ้มค่าของการสืบค้นข้อมูล
    3.    ความมีประโยชน์ของแหล่งข้อมูล
    4.    ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล
15.       ข้อใดใช้ภาษาได้เหมาะสมกับฐานะบุคคล
    1.    เชิญร่วมกันตักบาตรพระสงฆ์ 2,500 องค์เนื่องในวันเข้าพรรษา
    2.    หลินปิงแพนด้าน้อยรับประทานต้นไผ่ได้เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้
    3.    ลูกชายช้างไทยที่กำเนิดที่ออสเตรเลียจะมีอายุครบ 1 ปีเดือนหน้า
    4.    ขอบคุณครับ โอกาสหน้าขอเชิญมาใช้บริการของเราใหม่นะครับ
16.       ในคำพากย์เอราวัณ หนุมานสู้กับยักษ์ตนใด
    1.    สหัสเดชะ
    2.    แสงอาทิตย์
    3.    ไมยราพ
    4.    อินทรชิต
17.            “พระสมุทรสุดลึกล้น              คณนา
        สายดิ่งทิ้งทอดมา                            หยั่งได้
        เขาสูงอาจวัดวา                              กำหนด
        จิตมนุษย์นี้ไซร้                               ยากแท้หยั่งถึง
       โคลงบทนี้เน้นสอนเรื่องใด
    1.    ความลึกของน้ำ
    2.    ความไว้วางใจ
    3.    ความพากเพียร
    4.    ความมีอุเบกขา
18.        “พิเศษสารเสกสร้างรังสรรค์สาร            ประจงจารฉันทพากย์พริ้งพรายฉาย
          เฉกเพชรพรรณเพราะเฉิดเลิศแลลาย            ระยับสายสะอิ้งส่องสร้อยกรองทรวง”
          กลอนบทนี้ดีเด่นด้านใดเป็นพิเศษ
    1.    สัมผัส
    2.    ฉันทลักษณ์
    3.    โครงสร้าง
    4.    สัญลักษณ์

19.           “หญ้าฝากเกสรดอกหญ้า               ไปกับลมช่วยผสานผสม
           แจ้งข่าวคราวเคลื่อนเยือนชม              ช่วยทอพรมคลุมพื้นให้แผ่นดิน”
          ประเภทของภาพพจน์ข้างต้นคล้ายคลึงกับข้อใด
    1.    ไผ่ซออ้อเอียดเบียดออด                         ลมลอดไล่เลี้ยวเรียวไผ่
    2.    เปลวแดดแผดเปลวเต้น                         ระริกเล่นเน้นทำนอง
    3.    ดูดาราระย้าระยับสรวง                      ดุจดวงเพชรพลอยประเสริฐศรี
    4.    ตระเวนไพรร่อนร้องตระเวนไพร            เหมือนเวรใดให้นิราศเสน่หา
20.            “มยุรฉัตรชุมสายพรายศรี        พัดโบกพัชนี
    กบี่ระบายโบกลม”
          คำประพันธ์ข้างต้นกล่าวถึงสิ่งใด
    1.    เครื่องราชกกุธภัณฑ์
    2.    เครื่องสูงประกอบยศ
    3.    เครื่องราชอิสริยาภรณ์
    4.    เครื่องประดับเรือนต้น

เฉลย
    21.    3    22.    2    23.    1    24.    3    25.    2
    26.    2    27.    3    28.    2    29.    2    30.    3
    31.    1    32.    ไม่มีข้อถูก    33.    2    34.    4    35.    4
36.     4   37.    2    38.    1    39.    2    40.    2







                                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น