บทที่1




                                                                 บทที่ 1


เรียนภาษาไทย ม.ต้น ที่นี่ครับ


          ม.ต้น  ควรรู้ความสำคัญของภาษาไทย  เป็นประการแรกแห่งการเรียนรู้  เรียนภาษาไทยในคอมกับครูปิยะฤกษ์ในห้อง  ม.ต้น  วันนี้   ขอนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียนเรื่อง  “ความสำคัญของภาษาไทยและภาษาไทย  :  ภาษาถิ่นอีสานครับ)


 


ความสำคัญของภาษาไทย


พ่อขุนรามคำเเหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น เมื่อปี พศ 1826 (คศ1283) มี พยัญชนะ 44 ตัว (21 เสียง), สระ 21 รูป (21 เสียง), วรรณยุกต์ 5 เสียง คือ เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ภาษาไทยดัดเเปลงมาจากบาลี เเละ สันสกฤต

คน ไทยเป็นผู้ที่โชคดีที่มีภาษาของตนเอง เเละมีอักษรไทย เป็นตัวอักษร ประจำชาติ อันเป็นมรดกล้ำค่าที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ซึ่งเป็นเครื่องเเสดงว่าไทยเราเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงส่งมาเเต่โบราณกาล เเละยั่งยืนมาจนปัจจุบัน คนไทยผู้เป็นเจ้าของภาษา ควรภาคภูมิใจที่ชาติไทยใช้ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติมากว่า 700 ปีเเล้ว เเละจะยั่งยืนตลอดไป ถ้าทุกคนตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย

ภาษาเป็น วัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภาษาเป็นสื่อใช้ติดต่อกันเเละทำให้วัฒนธรรมอื่นๆเจริญขึ้น เเต่ละภาษามีระเบียบของตนเเล้วเเต่จะตกลงกันในหมู่ชนชาตินั้น ภาษาจึงเป็นศูนย์กลางยืดคนทั้งชาติ ดังข้อความ ตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง “ความเป็นชาติโดยเเท้จริง” ว่า ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์เเน่นเเฟ้นกว่าสิ่งอื่น เเละไม่มีสิ่งใด ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันหรือเเน่นอนยิ่งไปกว่าภาษาเดียวกัน รัฐบาลทั้งปวงย่อมรู้สึกในข้อนี้อยู่ดี เพราะฉะนั้น รัฐบาลใดที่ต้องปกครองคนต่างชาติต่างภาษา จึงต้องพยายามตั้งโรงเรียนเเละออกบัญญัติบังคับ ให้ชนต่างภาษาเรียนภาษาของผู้ปกครอง เเต่ความคิดเห็นเช่นนี้ จะสำเร็จตามปรารถนาของรัฐบาลเสมอก็หามิได้ เเต่ถ้ายังจัดการเเปลง ภาษาไม่สำเร็จอยู่ตราบใด ก็เเปลว่า ผู้พูดภาษากับผู้ปกครองนั้นยังไม่เชื่ออยู่ตราบนั้น เเละยังจะเรียกว่าเป็นชาติเดียวกันกับมหาชนพื้นเมืองไม่ได้ อยู่ตราบนั้น ภาษาเป็นสิ่งซึ่งฝังอยู่ในใจมนุษย์เเน่นเเฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น”

ดังนั้นภาษาก็เปรียบได้กับรั้วของชาติ ถ้าชนชาติใดรักษาภาษาของตนไว้ได้ดี ให้บริสุทธิ์ ก็จะได้ชื่อว่า รักษาความเป็นชาติ

คน ไทยทุกคนใช้ภาษาไทยเป็นสื่อความรู้สึกนึกคิดเท่านั้นยังไม่เพียงพอ ควรจะรักษาระเบียบความงดงามของภาษา ซึ่งเเสดงวัฒนธรรม เเละ เอกลักษณ์ประจำชาติไว้อีกด้วย ดัง พระราชดำรัส สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งว่า

“ภาษานอกจากจะเป็นเครื่องสื่อสารเเสด งความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วโลก เเล้ว ยังเป็นเครื่องเเสดงให้เห็นวัฒนธรรม อารยธรรม เเละเอกลักษณ์ ประจำชาติอีกด้วย ไทยเป็นประเทศซึ่งมีขนบประเพณี ศิลปกรรมเเละภาษา ซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตกาล เราผู้เป็นอนุชนจึงควรภูมิใจ ช่วยกัน ผดุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้ อุตส่าห์สร้่างสรรค์ขึ้นไว้ให้เจริญสืบไป ”

 


ภาษาไทย  :  ภาษาถิ่นอีสาน


อ๊ะ  อ๊ะ   มาสู่ภาษาถิ่นอีสานที่นักเรียนหลาย ๆ คนในแถบอีสานพูดกันเสียจนติดปากกัน  แต่พอได้ไปพูดกับเพื่อน ๆ  ภาคกลางหรือสื่อความหมายเวลาพูดภาษากลางให้ครูฟังแล้วครูไม่เข้าใจในความหมาย  (ครูที่มาจากภาคกลาง)  แต่วันนี้ครูปิยะฤกษ์  (ครูแบงก์)  ขอนำนักเรียนเข้าสู่บทเรียนภาษาไทย  :  ภาษาถิ่นอีสาน กันเลยนะครับ  จะได้เรียนรู้เพื่อลดช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมด้านภาษาเพื่อการสื่อความหมายให้เข้าใจตรงกัน   นักเรียนหรือคุณครูที่อยู่ภาคอื่น ๆ  ก็เรียนรู้ไม่ไม่เสียหลายครับ   (แหม้นบ่????????)

คำภาษาถิ่น
คำเรียก (ไทยกลาง)
ความหมาย
หำบักมี่ ส่าขนุน  ดอกตัวผู้ (ขนุนหนัง) หรือเรียกว่า “ ส่า ” นำมาสุมแทรกใส่น้ำปูนใส ทาลิ้นเด็ก
บักเค็ง เขลง บางแห่งเรียก   หมากเค็ง นางดำ หยี  ชื่อวิทยาศาสตร์: Dialium cochinchinense pierre
ชื่อวงศ์: LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE ไม้ยืนต้น
ผลดิบต้มน้ำดื่มแก้ร้อนในผลสุกและดิบรับประทานได้
บักหวดข่า/บักหวด หว้า ใต้เรียก “กำชำ”    โคราชเรียก  “มะหวด”  บางแห่งเรียก  “ห้าขี้แพะ”  ชื่อสามัญ Bo Tree, Sacred Fig Tree, Pipal Tree, peepul tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium cumini (L.) Skeels
วงศ์ BORAGINACEAE
บักผีผ่วน นมแมว, เป็นผลไม้ป่าหายาก รสชาติ หวาน ๆ นำ เปรี้ยวนิด ๆ  ออกผลปีละครั้ง  ถิ่นโคราช เรียก  นมวัว/นมงัว  วงศ์ : Annonaceae  นมแมว(ภาษากลาง) นมวัว (พิษณุโลก กระบี่) พีพวน (อุดร) บุหงาใหญ่(ภาคเหนือ)  ชื่อวิทยาศาสตร์: Uvaria rufa Bl.
วงศ์: Annonaceae  ไม้เถา  การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:แก่นและราก ต้มดื่ม แก้ไข้ซ้ำ ไข้กลับ เนื่องจากกินของแสลง ราก แก้ผอมแห้งแรงน้อย สำหรับสตรี ที่อยู่ไฟไม่ได้หลังคลอดบุตรและช่วยบำรุงน้ำนม ผล ตำผสมกับน้ำ ทาแก้เม็ดผดผื่นคัน
ก้นคก นมควาย, ตับเต่าน้อย,  กล้วยเต่า บางแห่งเรียก  “ก้นคก สกคก ปกคก”  ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polylthia debilis Finet & Gagnep.
ผักสะแงะ  (๑) ผักชีไร่/สะระแหน่ อีสานเหนือ ภูไท  เรียก แซะแงะ/สะแงะ   เชียงใหม่เรียกว่า หอมแย่
ผักสะแงะ  (๒) สะระแหน่ อีสานใต้  เรียก สะแงะ  ผักอีเสิม  หอมแมว  (โคราช)
แมงแคง มวนลำไย ชื่อวิทยาศาสตร์  Tesseratoma sp.  วงศ์ Pentatomidae  เป็นสัตว์ตระกูลแมลง
สีสบ ริมฝีปาก
ลมหัวกุด ลมบ้าหมู
อีตู่ แมงลัก ชื่อผักใบมีกลิ่นหอม
รถซุก รถเข็น โคราช เรียก รถไสน้ำ
หอมบั่ว หอมแดง
ผักขา ชะอม
ขะลำ/คำลำ/กะลำ เว้น ป็นคำกิริยา แปลว่า เว้น (อย่างว่า อันไหนเห็นว่าบ่ดีก็ กะลำ ซะ  พจนานุกรมภาษาลาว โดย ดร.ทองคำ อ่อนมะนีสอน หน้า ๒๔ ให้ความหมายไว้ดังนี้
“กะลำ น.สิ่งใดที่เฮ็ดลงไปแล้วบ่ดีบ่งาม เกิดโทษเกิดภัย เกิดเสนียดจัญไรแก่ตนและผู้อื่นโบราณเอิ้น กะลำ, คะลำ ขะลำ ก็ว่าอย่างว่า “หัวโล้นอยากลำ หัวดำอยากเทศน์ คะลำ (พาสิด)”
ห่ง/ฮ่ง อาการน้ำขัง
เอาะเจ๊าะแอ๊ะแจ๊ะ กระจัดกระจาย,  เล็กน้อย,  ไม่มาก,เบาบาง
อ้าย พี่ชาย
เอื้อย พี่สาว
กะทกรก เสาวรส ชื่อวิทยาศาสร์     Passiflora Laurifolia Linn.
ตระกูล   PASSIFLORACEAE
ลักษณะทั่วไป  ต้น เสาวรสเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดกลาง เถามีสีเขียวเข้มและเมื่อแก่เถาจะเป็นสีน้ำตาล
หมากส้มมอ สมอไทย ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia chebula Retz. var. chebula
ชื่อวงศ์: Combretaceae  ไม้ยืนต้น  เปลือกและผลส้มมอมีรสฝาดจากสารแทนนิน มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ และมีวิตามินซีสูง หรือใช้รากเข้าตำรับยารักษาริดสีดวงทวาร
บักบก  กระบก บางแห่งเรียก  บก กะบก หมากบก
ชื่อวิทยาศาสตร์: Irvingia malayana Oliv.ex A.W.Benn.  ชื่อวงศ์: IRVINGIACEAE
ไม้ยืนต้น  เมล็ดใช้เป็นยาพื้นบ้านยาบำรุงข้อ บำรุงกระดูก แก้เส้นเอ็นพิการ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แก้ข้อขัด เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง
หมากค้อ ตะคร้อ ชื่อวิทยาศาสตร์: Schleichera oleosa (Lour.) Oken  ชื่อวงศ์: SAPINDACEAE
ไม้ยืนต้น  เนื้อไม้ใช้ในอุตสาหกรรมไม้ ทำฟืนและถ่าน เปลือก ใช้ย้อมสี ใบอ่อน กินเป็นผัก
หมากต้องแล่ง นมน้อย โคราชเรียก  “น้ำเต้าน้อย” ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyalthia evecta (Pierre) Finet &Gagnep. วงศ์ : Annonaceae
ไม้พุ่ม  ราก ต้มน้ำดื่มแก้กล้ามเนื้อท้องเกร็ง บำรุงน้ำนม
หมากกี่โก่ย องุ่นป่า ชื่อสามัญ Common name : องุ่นป่า , เถาเปรี้ยว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sciencetific name : Ampelocissus martinii Planch.
ชื่อวงศ์ Family name: VITACEAE (VITIDACEAE)
ชื่ออื่น Other name: เครืออีโกย (อีสาน) กุ่ย (อุบล) เถาวัลย์ขน (ราชบุรี) ส้มกุ้ง (ประจวบฯ) ตะเปียงจู องุ่นป่า (สุรินทร์) ลักษณะทั่วไป : ไม้เลื้อยล้มลุก
ประโยชน์ : ทางอาหาร ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดมีรสหวานอมเปรี้ยว
เทิง บน
เฮือน บ้าน, เรือน
นอกซาน ชานบ้าน





1.คนเห็นคนเป็นคนนั่นแหละคน คนเห็นคนใช่คนใช่คนไม่
เกิดเป็นคนต้องเป็นคนทุกคนไป จนหรือมีผู้ดีไพร่ไม่พ้นคน”
บทประพันธ์ข้างต้นไม่ปรากฏลักษณะการแต่งแบบใด

    1. การเล่นคำซ้ำ
    2. การเล่นคำพ้อง
    3. การใช้สัมผัสสระอักษร
    4. การใช้ปฏิพากย์

ตอบข้อ 4


จงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 2-4

มาทำลายรั้วระวังให้พังราบ มาร่ายเสกมนต์สาปให้หมดเศร้า
มาให้ห่วงคิดถึงทุกค่ำเช้า มาปล้นเอาหัวใจไปหมดแล้ว”

2.น้ำเสียงของผู้แต่งเป็นอย่างไร

    1. อาลัย
    2. จริงจัง
    3. เพ้อฝัน
    4. มีความสุข
ตอบข้อ 4

3.ลักษณะการแต่งที่เด่นที่สุดในบทประพันธ์คือข้อใด

    1. สัมผัสสระ
    2. สัมผัสอักษร
    3. การใช้ภาพพจน์
    4. การใช้กลบท

ตอบข้อ 4
4.บุคคลใดน่าจะเป็นประธานของบทประพันธ์นี้มากที่สุด

    1. ทหารที่ออกไปรบ
    2. ขโมย
    3. นางอันเป็นที่รัก
    4. พ่อมด

ตอบข้อ 3


จงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 5-7
ขอบคุณ...
ขอบคุณสำหรับโรงบุหรี่
ขอบคุณอีกทีกับโรงหวย
ขอบคุณสนามม้าชาติหน้ารวย
ขอบคุณโรงเหล้าด้วยช่วยชาติไทย
5.ข้อใดเแสดงความรู้สึกของผู้ประพันธ์เด่นชัดที่สุด

    1. เกลียดชัง
    2. ประชด
    3. ชื่นชม
    4. ยกย่อง

ตอบข้อ 2
6.ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายตามข้อใด

    1. เตือนให้คิด
    2. แนะให้ทำ
    3. ติเตียน
    4. สั่งสอน

ตอบข้อ 1
7.คำประพันธ์ในข้อใดใช้น้ำเสียงเหมือนกับคำประพันธ์ข้างต้น
    1. ไทยคงเอกราชด้วย ฝีมือ ไทยเอย
    2. ขอบคุณไมตรีที่มีให้ ความห่วงใยอาทรแต่ก่อนเก่า
      แม้วันนี้ไม่มีทางระหว่างเรา ก็ไม่เศร้าเหงาหรอกใจบอกมา
    3. หนึ่งจะต้องอกหักกับรักแรก สองจะต้องไม่แปลกกับรักใหม่
      สามจะต้องผิดหวังทุกครั้งไป สี่จะต้องจำไว้รักคือทุกข์
    4. จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
      จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
ตอบข้อ 2

จงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 8-10

มิ่งมิตร... เธอมีสิทธิ์ที่จะล่องแม่น้ำรื่น
ที่จะบุกดงดำกลางค่ำคืน ที่จะชื่นใจหลายกับสายลม
ที่จะร่ำเพลงเกี่ยวโลมเรียวข้าว ที่จะยิ้มกับดาวพราวผสม
ที่จะเหม่อมองหญ้าน้ำตาพรม ที่จะขมขื่นลึกโลกหมึกมน”

8.แนวคิดใดไม่ปรากฏในบทประพันธ์นี้

    1. สิทธิของมนุษย์
    2. ธรรมชาติของชีวิตที่มีทุกข์มีสุขสลับกัน
    3. การต่อสู้กับอุปสรรค
    4. ความยุติธรรมและความถูกต้อง

ตอบข้อ 4
9.ในบทร้อยกรองนี้ กวีวางตนไว้ในฐานะอะไร

    1. อาจารย์
    2. เพื่อน
    3. พระ
    4. บุคคลอันเป็นที่รัก

ตอบข้อ 2
10.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของคำประพันธ์ข้างต้น

    1. ความหมายเชิงสัญลักษณ์ของถ้อยคำ
    2. ความง่ายและความงามของบทกลอน
    3. การใช้อุปลักษณ์และบุคคลวัต
    4. แสดงแนวคิดทางพุทธศาสนา

ตอบข้อ 3
จงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 11-14
โหยหวนหวูดหวูดรถไฟ จุดหมายอยู่ไหนในโลกกว้าง
ผ่านหุบเหวทะเลทรายไปตามราง เลื้อยลอดอุโมงค์กว้างอันมืดนาน
เด็กน้อยยองยอง แม่ใช้ไปซื้อของซื้อข้าวสาร
เอาไม้เขี่ยรถไฟบนใบลาน รถไฟคลานเป็น อ.อ่าง ละลานลือ
พลางควานกระเป๋าพบรอยขาด ตรงที่คาดว่าจะมีเหรียญวางทื่อ
ฉันทำความอิ่มหายไปหลายมื้อ เด็กน้อยตีมือกระทืบรถไฟจนแหลกเหลว
11.รถไฟ” ในที่นี้เป็นการใช้ภาพพจน์ประเภทใด
    1. อุปลักษณ์
    2. สัญลักษณ์
    3. บุคคลวัต
    4. อติพจน์
ตอบ 1
12.เด็กน้อย” เป็นคนอย่างไร
    1. ช่างจินตนาการ
    2. โหดเหี้ยมอำมหิต
    3. ร่ำรวย
    4. ไม่ระมัดระวัง
ตอบ 1
13.แนวคิดสำคัญของบทประพันธ์คือ
    1. ความฝันกับจินตนาการ
    2. ความยากจนกับความฝัน
    3. ความยากจนกับจินตนาการ
    4. ความยากจนกับความไม่ระมัดระวัง
ตอบ 3

14.บทประพันธ์ข้างต้นไม่ปรากฏโวหารภาพพจน์แบบใด
    1. สัทพจน์
    2. อุปลักษณ์
    3. สัญลักษณ์
    4. บุคคลวัต
ตอบ 3
จงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 15-16
เขียนคนด้วยคนใหม่ เขียนหัวใจด้วยไมตรี
เขียนปากด้วยพจี สุจริตจำนรรจา
เขียนสมองและสองมือ ด้วยซื่อสัตย์และศรัทธา
มุ่งมั่นและปัญญา มาเถิดมามาช่วยกัน
15.บทประพันธ์ข้างต้นเป็นสารประเภทใด
    1. ชวนเชื่อ
    2. โน้มน้าว
    3. ให้เหตุผล
    4. ให้ความรู้
ตอบ 2
16.แนวคิดใดไม่ปรากฏในบทประพันธ์
    1. โลกสวยด้วยมือเรา
    2. การพัฒนาตนเอง
    3. สามัคคีคือพลัง
    4. ปัญญาประดุจดังอาวุธ
                       ตอบ 4
จงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 17-18
หยุดประเดี๋ยวได้ไหมพายุร้าย หยุดส่งสายสุนีบาตมาข่มขู่
กัมปนาทกราดเกรี้ยวกันเกรียวกรู
เพื่อสักครู่เจ้าจะหลั่งซึ่งฝนริน
เติมความรักสักหน่อยนะหัวใจ
เติมความหวังไกลอยู่ให้สิ้น
ให้หยัดอยู่คู่ท้าเถื่อนธรนินทร์
เพื่อแผ่นดินจะงดงามด้วยความรัก
17.คำประพันธ์ข้างต้นไม่ปรากฏลักษณะการแต่งในข้อใด
    1. เล่นสัมผัสสระและสัมผัสอักษร
    2. เล่นคำพ้องความหมาย
    3. ใช้สัญลักษณ์
    4. ซ้ำคำย้ำความหมาย
ตอบ 2
18.ผู้แต่งมีจุดมุ่งหมายในข้อใด
    1. ให้มีความอดทน
    2. ให้มองโลกในแง่ดี
    3. ให้มีอุดมการณ์
    4. ให้กำลังใจ
                      ตอบ 4
จงใช้คำประพันธ์ต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 19-20
เป็นสร้อยโสภิศพ้น อุปรมา
โสรมสรวงศิรธิรางค์ เวี่ยไว้
จงคงคู่กัลปา ยืนโยค
หายแผ่นดินฟ้าไหม้ อย่าหาย ฯ
19.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะเด่นของคำประพันธ์ข้างต้น

      1. การใช้อติพจน์
      2. การใช้อุปลักษณ์
      3. การใช้คำอลังการ
      4. การใช้อุปมา
    ตอบ 4

    20.บทประพันธ์นี้ต้องการสื่ออะไร
      1. แสดงความสำคัญของบทกวี
      2. แสดงความยิ่งใหญ่ของบทกวี
      3. แสดงความสามารถของกวี
      4. แสดงความรู้สึกของกวี
    ตอบ 4

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น